อักษรไทในอินเดีย: การดัดแปลงอักษรและอักขรวิธีเพื่อใช้เขียนภาษาบาลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีกลุ่มเด็กกัมพูชาในประเทศไทยจำนวนมากที่จำเป็นต้องติดตามบิดามารดาซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทย ด้วยเหตุที่ภาษาเขมรซึ่งเป็นภาษาแม่กับภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่สองของเด็กเหล่านี้มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ ส่วนภาษาเขมรไม่มีวรรณยุกต์ บทความนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยของเด็กกัมพูชาในคำพูดเดี่ยวทั้งพยางค์เป็นและพยางค์ตาย จากผลการศึกษาทางกลสัทศาสตร์ที่ได้เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาเด็กกัมพูชาและเด็กไทยวัย 6-12 ปี รวม 20 คน
ผลการศึกษาพบว่า เด็กกัมพูชามีสัทลักษณะวรรณยุกต์ภาษาไทยทั้งที่เหมือนและแตกต่างไปจากเด็กไทย ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการออกเสียง โดยเด็กกัมพูชามีการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยแตกต่างไปจากเด็กไทยในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ประการแรกการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงมากกว่าเด็กไทย ซึ่งพบมากในกลุ่มวรรณยุกต์ระดับ (สามัญและเอก) ประการที่สองการขึ้นตกของระดับเสียงน้อยกว่าเด็กไทย ซึ่งพบมากในกลุ่มวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (โทและจัตวา) ประการที่สามการที่เด็กกัมพูชาบางคนมีทิศทางการขึ้นตกแตกต่างไปจากเด็กไทย ประการที่สี่การออกเสียงวรรณยุกต์หนึ่งไปคล้ายคลึงกับอีกวรรณยุกต์หนึ่งในระบบเสียง ประการที่ห้าความหลากหลายในการออกเสียงวรรณยุกต์มากกว่าเด็กไทย และประการสุดท้ายเรื่องพิสัยระดับเสียงยังพบว่า เด็กกัมพูชามีพิสัยระดับเสียงที่แคบกว่าเด็กไทยอีกด้วย ลักษณะดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงภาวะของภาษาในระหว่างหรืออันตรภาษา
Article Details
References
จดหมายเหตุการเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช. (ม.ป.ป.). สืบค้น 25 เมษายน 2563 จากhttps://www.sajjhaya.org/node/153
จรัลวิไล จรูญโรจน์. (2562). ลำดับของรูปพยัญชนะในภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5): 66-85.
บรรจบ พันธุเมธา. (ม.ป.ป). พจนานุกรมพ่าเก - ไทย - อังกฤษ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
มูลนิธิสัชฌายะ. (2562ก). พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระไตคำตี่ - ปาฬิ.
มูลนิธิสัชฌายะ. (2562ข). พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระไตอาหม - ปาฬิ.
มูลนิธิสัชฌายะ. (2562ค). พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุดอักขะระไตพ่าเก - ปาฬิ.
เรณู วิชาศิลป์. (2529). ระบบการเขียนของไทอาหม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
เรณู วิชาศิลป์. (2530). อักษรไทอาหม. วารสารประวัติศาสตร์, 9, 91-120.
เรื่อง รามะมัง ของไทพ่าเก (เอกสารอักษรไทพ่าเก วัดน้ำพ่าเก รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย)
ลิ่กไทคำตี่ ชั้นเหง้า. (2525). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2551). ภาษาไทในรัฐอัสสัม อินเดีย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 26(2), 39-59.
Bomhard, A. R. (2012). An Introductory grammar of the Pali language. Charleston, SC: Charleston Buddhist Fellowship.
Gogoi, L. (1989). The Tai Khamtis of the North-East. New Delhi, India: Omsons.
Mong, S. K. (2004). The history and development of the Shan scripts. Chiang Mai, Thailand: Silkworm.
Morey, S. (1999). Tai Phake Primer. Dibrugarh, India: Triograph Offset.
Morey, S. (2005). The Tai languages of Assam: A grammar and texts. Canberra, Australia: Research School of Pacific and Asian Studies.
Warder, A. K. (2001). Introduction to Pali. Oxford, England: Pali Text Society.