กลวิธีการเขียนสารคดีชีวประวัติ: กรณีศึกษาจากผลงานของนักศึกษาในวิชาการเขียนสารคดี

Main Article Content

นพวรรณ งามรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษากลวิธีการเขียนสารคดีชีวประวัติจากผลงานของนักศึกษาในวิชาการเขียนสารคดี จำนวน 143 ผลงาน โดยวิเคราะห์ตามองค์ประกอบสำคัญของสารคดี คือ การตั้งชื่อเรื่อง การเขียนความนำ การเขียนเนื้อเรื่อง และการเขียนความจบ และรวบรวมเป็นข้อมูลเชิงสถิติ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องมี 8 กลวิธี ได้แก่ การบอกเนื้อหาตรงไปตรงมา การใช้ความคลุมเครือ การเล่นเสียงสัมผัสคล้องจอง การใช้ความเปรียบ การใช้คำหลักนำหน้าตามด้วยข้อความที่เป็นส่วนขยาย การซ้ำคำ การเล่นคำ และการใช้กลุ่มคำหรือวลีมาเรียงต่อกัน กลวิธีการเขียนความนำมี 6 กลวิธี ได้แก่ ความนำแบบพรรณนา ความนำแบบผสมผสาน ความนำแบบบรรยาย ความนำแบบอ้างคำพูดหรือวาทะของบุคคล ความนำแบบตั้งคำถาม และความนำแบบสรุปประเด็น กลวิธีการเขียนเนื้อเรื่องในที่นี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ กลวิธีในการดำเนินเรื่อง และกลวิธีในการลำดับเรื่อง กลวิธีการเขียนความจบมี 6กลวิธี ได้แก่ ความจบแบบย่อเรื่องราวทั้งหมด ความจบด้วยทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน ความจบแบบผสมผสาน ความจบด้วยเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของเจ้าของชีวประวัติ ความจบด้วยการย้อนหลัง และความจบด้วยการอ้างคำพูดของบุคคล ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการพัฒนาทักษะการเขียนสารคดีชีวประวัติ และผู้วิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการเขียนสารคดีต่อไป

Article Details

How to Cite
งามรุ่งโรจน์ น. (2020). กลวิธีการเขียนสารคดีชีวประวัติ: กรณีศึกษาจากผลงานของนักศึกษาในวิชาการเขียนสารคดี. วรรณวิทัศน์, 20(2), 202–232. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.15
บท
บทความประจำฉบับ

References

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2548). การเขียนสารคดีภาคปฏิบัติ. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรภาพ โลหิตกุล. (2552). กว่าจะเป็นสารคดี (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อ่านเอาเรื่อง.

มาลี บุญศิริพันธ์. (2535). การเขียนสารคดีสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

วชิระ ดวงใจดี. (2550). การศึกษางานเขียนสารคดีของอรสม สุทธิสาคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วชิราภรณ์ ช้างหัวหน้า, สุภาพร คงศิริรัตน์ และวนิดา บำรุงไทย. (2559). กลวิธีการนำเสนอสารคดีชีวประวัติในคอลัมน์เรื่องจากปกของนิตยสาร ฅ.คน Magazine.ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ (น. 914 -931). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วริศา หุ่นประการ. (2545). การวิเคราะห์สารคดีของธีรภาพ โลหิตกุล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.