นิมิตร้ายในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Main Article Content

ปฐมพงษ์ สุขเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเกิดนิมิตร้าย และนำเสนอภาพของนิมิตร้ายในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์  ช่วงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่  3 โดยศึกษาจากวรรณคดีไทยจำนวน  18  เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า การเกิดนิมิตร้ายมี 2 รูปแบบ คือ 1)  รูปแบบความจริง  สามารถรับรู้ได้โดยทางตา ทางหู  ทางกาย และทางใจ และ  2)  รูปแบบความฝัน รับรู้โดยการฝันเท่านั้น การนำเสนอนิมิตร้ายสามารถนำเสนอในรูปแบบเดียว  และนำเสนอร่วมกันทั้งสองรูปแบบ หรือนำเสนอนิมิตร้ายรูปแบบความจริงที่มีการรับรู้หลายทางร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อขับเน้นเรื่องร้ายที่จะเกิดขึ้น  ภาพนิมิตร้ายถูกนำเสนอผ่านภูตผี มนุษย์ สัตว์ และปรากฏการณ์ธรรมชาติในลักษณะไม่ปกติที่น่ากลัว และผิดธรรมชาติ  เมื่อนำนิมิตร้ายในวรรณคดีเปรียบเทียบกับนิมิตร้ายในอธิไทยโพธิบาทว์  พบว่ามีทั้งสอดคล้องและแตกต่างกัน  โดยนิมิตร้ายในวรรณคดีมีความหลากหลายมากกว่า

Article Details

How to Cite
สุขเล็ก ป. (2020). นิมิตร้ายในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วรรณวิทัศน์, 20(2), 105–137. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2020.12
บท
บทความประจำฉบับ

References

จริยา สมประสงค์. (2559). เนื้อหาและความหมายของความฝัน สื่อสารผ่านวรรณกรรมไทยในอดีตและปัจจุบัน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8 (15), 30-42.

จันทร์ศรี นิตยฤกษ์. (2543). ความฝันลางบอกเหตุสำคัญในเรื่องขุนช้างขุนแผน. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 9 , 87-96.

ชมนาด เสวิกุล. (2549). ประวัติชีวิตและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: อำนวยสาส์น.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2549). ความฝันกับเหตุดีเหตุร้ายในวรรณคดีไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 31 (3), 799-819.

ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1. (2545). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

นิทานคำกลอนสุนทรภู่. (2558). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

นิราศหนองคาย และวรรณคดี 5 เรื่อง พระมเหลเถไถ อุณรุทร้อยเรื่อง หม่อมเป็ดสวรรค์ พระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และระเด่นลันได. (2562). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

บทละครนอก พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 10). (2545). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เล่ม 1. (2540ก). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เล่ม 2. (2540ข). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เล่ม 3. (2540ค). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

บทละครเรื่องอุณรุท. (2545). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (พิมพ์ครั้งที่ 7). (2554). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ประชุมนิราศสุนทรภู่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). (2555). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด.

ปรัชญา ปานเกตุ. (2560). ศัพทานุกรมวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). นนทบุรี: เอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

พระอภัยมณี. (2558). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

พวงพยอม ยลถนอม. (2537). ความฝันในวรรณคดีไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, มหาสารคาม.

พีรภัทร์ ศรีตุลา. (2555). เทวดารักษาทิศในอาธิไท้โพธิบาทว์. วารสารมนุษยศาสตร์, 19 (1), 21-38.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2550). ลักษณะของวรรณคดีไทย. ใน พัฒนาการวรรณคดีไทย (น. 1 – 46) (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 13 กัณฑ์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). (2518). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ลิลิตตะเลงพ่าย (พิมพ์ครั้งที่ 3). (2543). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

วรรณา บัวเกิด และธิดา โมสิกรัตน์. (2550). วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2394-2475. ใน พัฒนาการวรรณคดีไทย (น. 329-421) (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนวน งามสุข. (2515). เกร็ดจากวรรณคดี. พระนคร: แพร่พิทยา.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เล่ม 1. (2554ก). กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เล่ม 2. (2554ข). กรุงเทพฯ: เพชรกะรัต.

อิเหนา (พิมพ์ครั้งที่ 17). (2557). กรุงเทพฯ: แสงดาว.