การศึกษาตัวละครผู้วิเศษใน “สามก๊ก” ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

Main Article Content

นิพัทธ์ แย้มเดช

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งศึกษาตัวละครผู้วิเศษใน สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ มีคาถาอาคม และได้รับการยอมรับนับถือจากตัวละครอื่นว่าเป็น “ผู้วิเศษ” ตัวละครผู้วิเศษที่ศึกษามีจำนวน 14 ตัวละคร จำแนกตัวละครเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มตัวละครผู้วิเศษที่เป็นมนุษย์ 2. กลุ่มตัวละครผู้วิเศษที่ไม่ใช่มนุษย์ และ 3. กลุ่มตัวละครผู้วิเศษที่เป็นมนุษย์ และเมื่อตายไปได้เกิดเป็นอสุรกายมีฤทธิ์ โดยกำหนดประเด็นศึกษาลักษณะเด่นและบทบาทความสำคัญของตัวละคร ผลสรุปจากการศึกษา ทำให้เห็นถึงภูมิหลัง สีสัน ลักษณะพฤติกรรมและความคิดของตัวละครผู้วิเศษได้ชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่ากวีผู้สร้างสรรค์กำหนดให้ตัวละครผู้วิเศษมีลักษณะเด่นทั้งรูปลักษณะภายนอก การใช้วิชาหรือเวทมนตร์วิเศษ ธรรมชาติวิสัยจากพฤติกรรมภายในอันเป็นลักษณะเฉพาะของตัวละครนั้น ๆ ซึ่งการสร้างสรรค์ตัวละครผู้วิเศษให้มีมิติลุ่มลึก ทำให้ตัวละครมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินเรื่อง การสร้างรสวรรณคดี และการสื่อคติสอนใจ การศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ประจักษ์ได้ว่าตัวละครผู้วิเศษใน สามก๊ก สร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน ความมีชีวิตของตัวละครยังชวนให้ขบคิดถึงสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า ตัวละครผู้วิเศษไม่ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือกฎธรรมชาติ เพราะตัวละครต่างประสบความสุข ทุกข์ โศก ความพลั้งเผลอ และความตายชวนสลดใจอย่างที่เกิดกับมนุษย์ทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ สาตรปรุง. (2541). ราชาธิราช สามก๊ก และไซ่ฮั่น: โลกทัศน์ชนชั้นนำไทย. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กุสุมา รักษมณี. (2559). กุสุมาวรรณนา: วิวิธวารประพันธ์. ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2532). “สามก๊ก” ในทรรศนะของข้าพเจ้า. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 2(2), 5-11.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2547). ตำนานหนังสือสามก๊ก. ดอกหญ้า 2545.

ถาวร สิกขโกศล. (2549). สามก๊ก: จากวรรณคดีเอกของจีนมาเป็นวรรณคดีเอกของไทย. วารสารจีนศึกษา, 1(1), 117-135.

เปลื้อง ณ นคร. (2543). ประวัติวรรณคดีไทย. ไทยวัฒนาพานิช.

พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. (2551). สามก๊ก เล่ม1-3. ดอกหญ้า 2545.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2557). 100 ปี วรรณคดีสโมสร. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 39(3), 317-338.

วินิตา ดิถียนต์. (2532). มองสามก๊กจากฉบับภาษาอังกฤษ. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 2(2), 85-93.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2562). คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม). โรงพิมพ์สหธรรมิก.