ฉันท์ปกรณ์ : จากชมพูทวีปสู่จินดามณี

Main Article Content

สุรศักดิ์ แย้มอุ่ม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเสนอรูปแบบการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องฉันท์จาก ปิงคลฉันทสูตรแห่งชมพูทวีปสู่คัมภีร์วุตโตทัยกระทั่งมาสู่จินดามณี พร้อมทั้งเสนอวิธีการที่ปราชญ์ไทยประยุกต์รูปแบบการเรียนรู้เรื่องฉันท์ดังกล่าวให้เข้ากับบริบทอย่างไทย การศึกษาดังกล่าวพบว่าฉันทลักษณ์หลักที่ใช้ในการประพันธ์บทร้อยกรองของไทยนับแต่อดีตคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ในบรรดาฉันทลักษณ์เหล่านี้ปรากฏรูปแบบการประพันธ์ประเภทฉันท์ในลักษณะปกรณ์คือคู่มือหรือแบบเรียนแทรกอยู่ในวรรณกรรมลายลักษณ์เล่มแรกของไทยคือจินดามณีที่แต่งโดยพระโหราธิบดี อันเป็นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระโหราธิบดี  ร้อยเรียงเรื่องฉันท์ในปกรณ์เล่มนี้โดยอ้างอิงคัมภีร์วุตโตทัยซึ่งพระสังฆรักขิตมหาสามีแห่งลังกาประพันธ์ขึ้นเป็นภาษามคธ อนึ่ง แม้คัมภีร์วุตโตทัยนี้จะประพันธ์ขึ้นโดยชาวลังกาก็จริงแต่ก็เป็นการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องฉันท์มาจากตำราปิงคลฉันทสูตรของปิงคลาจารย์ชาวชมพูทวีปมาอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเนื้อความอันเกี่ยวเนื่องกับฉันท์ที่ปรากฏในจินดามณีมีร่องรอยสืบมาจากตำราฉันท์ของชาวชมพูทวีปนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2544). จินดามณี (พิมพ์ครั้งที่ 10). บรรณาคาร.

โชษิตา มณีใส. (2546). ฉันท์ชุดแก้วสยาม น.ม.ส.: ประดิษฐการเชิงทดลอง. วรรณวิทัศน์, 3, 94-106.

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้ และ ธันยาการต์ บุ้งทอง. (2564). การวิเคราะห์แบบเรียนประถม ก กา ฉบับเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์) รวบรวม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 332-349.

รังรอง เจียมวิจักษ์. (2558). “จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท”: การศึกษาในฐานะแบบเรียนสำหรับ “กุลบุตรผู้พากเพียร”. วรรณวิทัศน์, 15(ฉบับพิเศษ), 177-236.

โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย. (2562). วุตโตทัยแปล (แปลตาม วุตโตทยาภินวฎีกา). http://www.pariyat.com/downloads/item

วีรวัฒน์ อินทรพร. (2563). พินิจฉันท์วรรณพฤติและมาตรา: วรรณคดีสองมิติ. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 42(1), 197-221.

เสฐียร ทั่งทองมะดัน. (2563). รูปแบบการใช้ฉันทลักษณ์ในคัมภีร์วินัยวินิจฉัยและอุตตรวินิจฉัย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 389-402.

Ānandajoti Bhikkhu. (2016). Vuttodaya: The composition of metre by Ven. Sangharakkhita. https://ancient-buddhist-texts.net/Textaul-Studies/Vuttodaya/index.htm

Hudak, T. J. (1986). The Thai corpus of Chăn meters. Journal of the American Oriental Society, 106(4), 707-723.

Piṅgalācārya. (1931). Piṅgalacchandah-Sūtram. Chhatra-Pustakalaya.