อุดมการณ์ของชนชั้นกลางไทยในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือการศึกษาอุดมการณ์ของชนชั้นกลางที่ปรากฏในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุล ผลจากการศึกษาพบอุดมการณ์ 4 รูปแบบด้วยกัน อุดมการณ์แรกที่ปรากฏชัดเจนที่สุด คืออุดมการณ์ชนชั้นกลาง ซึ่งถูกนำเสนอใน 3 ลักษณะ ได้แก่ ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม การยึดมั่นในความเป็นปัจเจกชน และการให้คุณค่ากับความเสมอภาค นอกจากอุดมการณ์ชนชั้นกลาง นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุลยังปรากฏอุดมการณ์สตรีนิยมที่มุ่งวิจารณ์ธรรมเนียมการมีภรรยาหลายคน และเชิดชูตัวแบบของ “หญิงสมัยใหม่” ที่มีความรู้และสามารถเลี้ยงดูตนเองได้ อย่างไรก็ตาม แม้นวนิยายเหล่านี้จะนำเสนออุดมการณ์ชนชั้นกลางและสตรีนิยมที่มีลักษณะก้าวหน้า แต่ก็ยังมีองค์ประกอบของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมที่ให้ความสำคัญกับลำดับชั้นทางสังคม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และมองสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ ส่งผลให้อุดมการณ์ชนชั้นกลางและอุดมการณ์สตรีนิยมในนวนิยายเหล่านี้ถูกกำกับอยู่ด้วยอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมที่มีอิทธิพลต่อความรับรู้มากกว่า
Article Details
References
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2558). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. มติชน.
เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส (2565). “เอกลักษณ์ในยุคโลกาภิวัตน์” ใน ปรีดี หงษ์สต้น (บรรณาธิการ), จดหมายจากสุดขอบโลก: คิดคำนึงถึงอดีตในปัจจุบัน (น. 329-376). ศยาม.
จามะรี เชียงทอง. (2563). แนวคิดสตรีนิยมจากมุมมองและประสบการณ์ของอาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์. วารสารจุดยืน, 7(1), 1-28.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553). “รัตนโกสินทร์ในจินตนาการของ ว. วินิจฉัยกุล” ใน นวนิยาย: บทวิจารณ์นวนิยายสิบสามเรื่องของศิลปินแห่งชาติ. แพรว.
ณัฐพล ใจจริง. (2556). ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500). ฟ้าเดียวกัน.
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช. (2566). มหาบุรุษแห่งชุมชนศีลธรรม: วัฒนธรรมอำนาจนิยมและอารมณ์เชิงวัฒนธรรมไทย. สมมติ.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). วัฒนธรรมของคนชั้นกลางไทย. ใน สังศิต พิริยะรังสรรค์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บรรณาธิการ), ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย (น. 49-65). ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2536). ทฤษฎีชนชั้นกลาง. ใน สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร (บรรณาธิการ), ชนชั้นกลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย (น. 67-89). ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิไล ธรรมชูโชติ. (2543). วิเคราะห์นวนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล เรื่องรัตนโกสินทร์และสองฝั่งคลอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ว. วินิจฉัยกุล. (2546). บูรพา (พิมพ์ครั้งที่ 3). เพื่อนดี.
ว. วินิจฉัยกุล. (2547ก). รัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 9, แก้ไขและเพิ่มเติม). เพื่อนดี.
ว. วินิจฉัยกุล. (2547ข). ราตรีประดับดาว (พิมพ์ครั้งที่ 4, แก้ไขและเพิ่มเติม). เพื่อนดี.
ว. วินิจฉัยกุล. (2552). เทวาพาคู่ฝัน (พิมพ์ครั้งที่ 5). ทรีบีส์.
ว. วินิจฉัยกุล. (2554). มาลัยสามชาย เล่ม 1 - 2 (พิมพ์ครั้งที่ 7, แก้ไขและเพิ่มเติม). ทรีบีส์.
ว. วินิจฉัยกุล. (2556). สองฝั่งคลอง (พิมพ์ครั้งที่ 10, แก้ไขและเพิ่มเติม). อักษรโสภณ.
ว. วินิจฉัยกุล. (2558). เพชรกลางไฟ. ทรีบีส์.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 2 ปัญญาชนหลังการปฏิวัติ 2475. Open Book.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. มติชน.
Bertens, H. (2001). Literary theory: The basic. Routledge.
Heywood, A. (2007). Politics (3rd ed.). Palgrave.