กลวิธีการแปลคำวิสามานยนามในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

Main Article Content

ดวงพร ตะโพนทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษากลวิธีการแปลคำวิสามานยนามในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และวิเคราะห์กลวิธีการแปลภายใต้กรอบทฤษฎี Domestication และ Foreignization ของเวนุติ (Venuti) โดยมีการรวบรวมคู่คำวิสามานยนามจากหนังสือขุนช้างขุนแผนทั้งสิ้น 3 ฉบับ เป็นต้นฉบับภาษาไทย 2 ฉบับ เปรียบเทียบกับฉบับแปลภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า มีการใช้กลวิธีการแปลทั้งหมด 9 กลวิธี โดยแบ่งเป็นรูปแบบการแปล 2 ประเภท คือ 1) การแปลโดยใช้กลวิธีเดียว และ 2) การแปลโดยใช้กลวิธีมากกว่าหนึ่ง และเมื่อนำกลวิธีการแปลมาจำแนกภายใต้รูปแบบการแปลแบบรื่นหู (domestication) และการแปลแบบสะดุดตา (foreignization) พบว่าผู้แปลมีการใช้กลวิธีถ่ายเสียงมากที่สุด และมีการใช้กลวิธีการแปลโดยใช้คำยืมน้อยที่สุด ส่วนการศึกษารูปแบบการแปล ในแง่ของการใช้กลวิธีการแปลพบว่ากลวิธีที่อยู่ในรูปแบบการแปลแบบรื่นหูมีมากกว่ารูปแบบการแปลแบบสะดุดตา แต่ในแง่ของจำนวนคำพบว่ามีคำที่ใช้กลวิธีในรูปแบบการแปลแบบสะดุดตามากกว่าคำในรูปแบบการแปลแบบรื่นหู ซึ่งแง่ของจำนวนคำมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของผู้แปลที่ต้องการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความรู้จากต้นฉบับไปสู่ผู้อ่านฉบับแปลให้ได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริส เบเกอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บรรณาธิการ). (2556). ขุนช้างขุนแผน ฉบับวัดเกาะ. ซิลค์เวอร์มบุ๊คส์.

ณัฐวดี ก้อนทอง. (2555). การแปลแบบรื่นหูและแบบสะดุดตาในการแปลคำเรียกขาน: กรณีศึกษาบทแปลเรื่อง Four Reigns และ Many Lives [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2553). กลียุค. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=กลียุค-๒๑-พฤษภาคม-๒๕๕๓

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล: ไทย-อังกฤษ (Language, Culture and Translation: Thai-English). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาณิสสา ลิมเกรียงไกร. (2559). การวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อเฉพาะในวรรณกรรมเยาวชนแนวแฟนตาซี เรื่อง แฮร์รี่พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ฉบับแปลภาษาสเปนและฉบับแปลภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. คลังปัญญาจุฬาฯ.

เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอสมุดพระวชิรญาณ. (2555). ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2538). หลักภาษาไทย. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

อธิศา งามศรี. (2560). กลวิธีการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมที่พบในบทแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาหนังสือเรื่อง “ครูบ้านนอก” โดยคำหมาน คนไค [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections.

Baker, C., & Phongpaichit, P. (Eds. & Trans.) (2010). Tale of Khun Chang Khun Phaen. Silkworm Books. (Original work published 1917-1918).

Valentine, T., Brennen, T., & Bredart, S. (2016). The cognitive psychology of proper names: On the importance of being Ernest. Routledge.

Fernandes, L. (2006). Translation of names in children’s fantasy literature: Bringing the young reader into play. New Voices in Translation Studies, 2(1), 44-57.

Klassen, K. (2022). Proper name theory and implications for second language reading. Language Teaching, 55(2), 149-155.

Nord, C. (2003). Proper names in translations for children: Alice in Wonderland as a case in point. Meta, 48(1-2), 182-196.

Oxford University Press. (n.d.). Oxford learner’s dictionaries. Retrieved December 1, 2022, from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/

Shirinzadeh, S. A., & Mahadi, T. S. T. (2014). Translating proper nouns: A case study on English translation of Hafez’s lyrics. English Language Teaching, 7(7), 8-16.

Sribunruang, J. (1960). Khun Chang, Khun Phen: La femme, le heros et le vilain. Poeme populaire thai. Presses Universitaires de France.

Venuti, L. (1995). The translator’s invisibility: A history of translation. Routledge.

Vermes, A. P. (2003). Proper names in translation: An explanatory attempt. Across Languages and Cultures, 4(1), 89-108.

Wang, L. (2013). A survey on domestication and foreignization theories in translation. Theory and Practice in Language Studies, 3(1), 175-179.

Yang, W. (2010). Brief study on domestication and foreignization in translation. Journal of Language Teaching and Research, 1(1), 77-80.