ภาพสะท้อนจักรวาลวิทยาการสร้างโลกและการสถาปนาความสำคัญของเมืองจากวรรณกรรมมุขปาฐะเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอภาพสะท้อนแนวคิดจักรวาลวิทยาการสร้างโลกและการสถาปนาความสำคัญของเมืองจากวรรณกรรมมุขปาฐะ ในบริบทของเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการศึกษาจากวรรณกรรมมุขปาฐะของเมืองเวียงสระ จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ ตำนานเมืองเวียงสระ คำกลอนพังเพยเมืองเวียงสระ ลายแทงเมืองเวียงสระ ตำนานวัดคลองตาล และตำนานพระขี่หมู พบว่า วรรณกรรมมุขปาฐะได้สะท้อนถึงแนวคิดจักรวาลวิทยาตามคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และคติวัฒนธรรมภาคใต้ โดยถูกใช้เพื่ออุปมาถึงความเก่าแก่โบราณ และวรรณกรรมมุขปาฐะได้ทำหน้าที่สถาปนาความสำคัญให้กับเมืองเวียงสระทั้งในมิติประวัติศาสตร์และมิติร่วมสมัยในด้านผู้นำหรือผู้ปกครองและการปกครอง ด้านพื้นที่และชัยภูมิที่ตั้ง ด้านความสำคัญต่อเมืองที่ใหญ่กว่าและเมืองสำคัญ ด้านความเจริญรุ่งเรืองและร่ำรวย และด้านความเชื่อในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับเมือง ซึ่งส่งผลต่อความคิดความเชื่อของชุมชน ทำให้ชุมชนหลอมรวมอดีตเข้ากับปัจจุบันด้วยวิธีต่าง ๆ
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2560). ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช แต่งเปนกลอนสวด. ใน บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ (บรรณาธิการ). ตำนานพระธาตุและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช (น. 51-152). อรุณการพิมพ์.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์.
กลิ่น คงเหมือนเพชร. (2547). วรรณกรรมทักษิณประเภทลายแทง. ใน วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์ (น. 625-628). ภาพพิมพ์.
เขมชาติ เทพไชย, ยงยุทธ แจ่มวิมล, เตือนจิตร นิติยารมย์, ธีรพงศ์ ลิมปนานนท์, ชุม ศรีจำรัส, สิทธิ์ ฆังคะ, จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา, จิตรปรีดี อุณหะสุวรรณ์, วิสิฏฐ์ มะยะเฉียว, ปราโมทย์ นิ่ม, สุวัฒน์ เชื้อพุทธ, มาลวิกา พัชนี, พิศณุ บุรันทรโกษฐ์, อุไร จุลนวล, ชาญยุทธ เภรีวิค, บรรจบ กันไพเราะ, และ บุญทัน ศิริพรัม. (2527). รายงานการสำรวจขุดค้นทางด้านโบราณคดีบริเวณเมืองโบราณเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรมศิลปากร.
คำนวล คำมณี. (2564). แนวคิดจักรวาลวิทยาของชาวไทยภาคใต้: มองผ่านวรรณกรรมบทสวดไหว้พระภูมิ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 17(2), 9 - 45.
ชัยวุฒิ พิยะกูล. (2547). อัตลักษณ์และพลวัตวรรณกรรมกลุ่มความเชื่อและคตินิยม. ใน วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์ (น. 387-398). ภาพพิมพ์.
เตชวัน ปัญญาวุฒิธรรม. (2565). มรดกวัฒนธรรมและภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ เมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
ประทีป ชุมพล. (2546). พินิจวรรณกรรมภาคใต้. น้ำฝน.
ประทีบ ชุมพล. (2558). พื้นฐานวรรณกรรมท้องถิ่นสี่ภาค. โอเดียนสโตร์.
ประภัสสร เธียรปัญญา. (2551). จักรวาลวิทยาสยาม: การศึกษาที่มาของอำนาจทางการเมืองและกฎหมายในกฎหมายตราสามดวง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
พิเชฐ แสงทอง. (2559). ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราท้องถิ่นภาคใต้: อัตลักษณ์ วัฒนธรรม อำนาจ และการต่อต้าน ในประวัติศาสตร์ความเป็นไทย. ยิปซี กรุ๊ป.
ภิญโญ จิตต์ธรรม และ สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2342). โต๊ะครึม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 6 (น. 2828-2842). มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วันพระ สืบสกุลจินดา. (16 พฤศจิกายน 2564). หญ้าเข็ดมอน ที่มีมาพร้อมกับการตั้งดิน-ฟ้า ลายแทงลายใจในความทรงจำชาวโมคลาน. Nakornsristation. https://nakhonsistation.com/โมคลาน/
วันพระ สืบสกุลจินดา. (2566). แห่นางดาน: บทวิเคราะห์การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(5), 796-809.
วิมล ดำศรี. (2539). วรรณกรรมมุขปาฐะประเภทปริศนาเมืองนครศรีธรรมราช: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สุขกมล วงศ์สวรรค์. (2555). พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากหลักฐานทางโบราณคดี [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository : SURE.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547ก). บทไหว้ครูในวรรณกรรมทักษิณ. ใน วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์ (น. 115-124). ภาพพิมพ์.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547ข). วรรณกรรมทักษิณประเภทร้อยแก้ว. ใน วรรณกรรมทักษิณ: วรรณกรรมปริทัศน์ (น. 339-347). ภาพพิมพ์.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, สมบูรณ์ ธนะสุข, และ พิชัย แก้วขาว. (2543). กะเทาะสนิมกริช: แลวิถีชีวิตชาวใต้ตอนล่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุภาพร พลายเล็ก (2558). กำเนิดจักรวาลในคัมภีร์วิษณุปุราณะ: การผนวกรวมความเชื่อเพื่อเพิ่มความนับถือศรัทธาในพระวิษณุ. วารสารวรรณวิทัศน์, 15, 1-29.
สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช. (ม.ป.ป.). ประวัติศาสตร์ โบราณคดี นครศรีธรรมราช. เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์ และการพิมพ์.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม). อรุณการพิมพ์.
สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. (2563). โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช. ณัฐการการพิมพ์.
อุดม หนูทอง. (2524). วรรณกรรมสดุดีและแหล่ทำขวัญของภาคใต้. สถาบันทักษิณคดีศึกษา.
อุดม หนูทอง และ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). เข็ดมอน : พืช. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม 2 (น. 751-752). มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
UNESCO. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. UNESCO.