อาวาสโวหาร ภาษิตสอนชาย: ชะตากรรมในอุ้งมือสตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงวรรณกรรมพบใหม่เรื่อง อาวาสโวหาร หรือ เพลงยาวอาวาสโวหาร ในแง่ลักษณะเนื้อหาและแนวคิด วรรณกรรมคำสอนขนาดสั้นเรื่องนี้เสนอแนวคิดว่า ชายควรเลือกภรรยาที่ดี เพราะความประพฤติของภรรยามีความสำคัญเหนือกำหนดเกณฑ์ชะตา เป็นเหตุให้สามีประสบความเจริญหรือวิบัติในชีวิตได้ ความคิดดังกล่าวได้รับการนำเสนอผ่านเรื่องราวอุทาหรณ์ ซึ่งอาจนำไปใช้เป็นหลักในการพิจารณาเลือกสตรีมาเป็นภรรยาได้อีกโสดหนึ่งด้วยความคิดสำคัญของเรื่องอาจนำไปสู่ความเข้าใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับวรรณกรรมสอนสตรีของไทย อาวาสโวหาร หรือ เพลงยาวอาวาสโวหาร น่าจะเป็นผลงานของนายมีกวีที่มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งขึ้นขณะที่บวชเป็นภิกษุ
Article Details
References
ทศมูลเสือโค ของหมื่นพรหมสมพัตสร (มี). (2521). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตบพิตรพิมุข จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระสิรินันทมุนี (สนั่น ถาวโร ป.ธ.6) ณ เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาส วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521.
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (2518). กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
วรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่. (2527). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
สุภาษิตศรีสวัสดิ์. หอสมุดแห่งชาติเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา อักษรไทย เส้นรงค์ จ.ศ.1220 เลขที่ 17.
เสือโค ก กา. (2557). กรุงเทพฯ: สํานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.