ค่านิยมของคนไทยและคนเขมร: ภาพสะท้อนจากภาษิต

Main Article Content

อุบล เทศทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่านิยมของคนไทยและคนเขมรที่สะท้อนจากภาษิตไทยและภาษิตเขมร โดยศึกษา 3 ประเด็น คือ ค่านิยมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ค่านิยมที่เกี่ยวกับบุคคลและสังคม และค่านิยมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ผลการศึกษาพบว่าคนไทยและคนเขมรมีค่านิยมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาคล้ายกัน เพราะค่านิยมดังกล่าวได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาหลักที่คนไทยและคนเขมรนับถือ ส่วนค่านิยมเกี่ยวกับบุคคลและสังคมและค่านิยมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต พบว่าคนไทยและคนเขมรมีค่านิยมเหมือนกันเนื่องจากคุณลักษณะดังกล่าวเป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่ทุกชาติคาดหวังให้บุคคลในสังคมมีเพราะทำให้บุคคลดังกล่าวมีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิตและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ค่านิยมที่แตกต่างกันเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของคนไทยและคนเขมร

Article Details

How to Cite
เทศทอง อ. (2015). ค่านิยมของคนไทยและคนเขมร: ภาพสะท้อนจากภาษิต. วรรณวิทัศน์, 15, 105–134. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2525). สํานวนไทย. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

เขียน ธีระวิทย์ และสุณัย ผาสุก. (2543). กัมพูชา ประวัติศาสตร์สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมือง และการต่างประเทศ. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. และสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คูน โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจําวัน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ประยูร ทรงศิลป์. (2540). ประชุมเรื่องตํานานและนิทานพื้นบ้านเขมร. ภาคที่ 1–9. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). กรรมและนรกสวรรค์สําหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด. (พระบุญรอด สุปสนฺโน พิมพ์เป็นธรรมทาน).

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยตุ โตฺ ). (2546). พจนานกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์. กรงเทพมหานคร : เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จํากัด.

เพ็ญแข วัจนสุนทร. (2528). ค่านิยมในสํานวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ไพฑูรย์ เครือแก้ว. (2518). ลักษณะสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทบพิธ.

รัชนีกร เศรษโฐ. (2523). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุบล เทศทอง. (2548). ภาษิตเขมร: วิถีชีวิตและโลกทัศน์ของชาวเขมร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาเขมร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ledgerwood, Judy. (1990). Changing Khmer Conceptions of Gender: Women, Stories, and the Social Order. Ph.D. dissertation, Cornell University.