แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน: วรรณกรรมคำสอนเด็กร่วมสมัย

Main Article Content

เก๋ แดงสกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนและกลวิธีการนำเสนอคำสอนในวรรณกรรมเรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ “แก้วจอมซน” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่เป็นวรรณกรรมคำสอนเด็กร่วมสมัยผลการศึกษาพบว่า คำสอนที่ปรากฏในวรรณกรรม เรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ “แก้วจอมซน” มีความเหมาะสมกับเยาวชนในทุกยุคทุกสมัย และยังมีความสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงถ่ายทอดความรู้และคำสอนที่เป็นประโยชน์หลายด้าน ทั้งการสอนความรู้ภายนอกหรือทักษะทางปัญญา และการสอนความรู้ภายในหรือทักษะด้านจิตใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ควบคู่กันไป นับว่าทุกคำสอนได้เปิดมุมมองให้แก่ผู้อ่านซึ่งเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน และยังช่วยให้ผู้อ่านมีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังมีแนวทางในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี คำสอนที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ทั้ง 2 เรื่อง ไม่เพียงมีประโยชน์เฉพาะกลุ่มผู้อ่านที่เป็นเด็กและเยาวชนเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่เป็นกลุ่มผู้ปกครองด้วย กล่าวคือ ผู้ปกครองสามารถนำคำสอนที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ทั้ง 2 เรื่องไปปรับใช้ในการสอนเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงการเรียนรู้ของเด็ก การปลูกฝังจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมจริยธรรม รวมไปถึงการอบรมสั่งสอนอย่างมีเหตุผลตามหลักการวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเติบโตมาเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมต่อไปด้านกลวิธีการนำเสนอคำสอนในวรรณกรรมเรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ“แก้วจอมซน” พระองค์ทรงนำเสนอคำสอนผ่าน 3 กลวิธี คือ กลวิธีการสอนโดยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตัวละครเอง กลวิธีการสอนโดยผ่านการอบรมสั่งสอนของผู้ใหญ่ ซึ่งจะปรากฏทั้งการอบรมสั่งสอนด้วยการให้เหตุผลตามหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ และการอบรมสั่งสอนด้วยการให้เหตุผลตามหลักความเชื่อและกลวิธีการสอนโดยผ่านบุคคลต้นแบบ กลวิธีการนำเสนอคำสอนทั้ง 3 กลวิธีได้ส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจคำสอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชประสงค์จะถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำสอนและกลวิธีการนำเสนอคำสอนในวรรณกรรมเรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ “แก้วจอมซน” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่เป็นวรรณกรรมคำสอนเด็กร่วมสมัย


ผลการศึกษาพบว่า คำสอนที่ปรากฏในวรรณกรรม เรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ “แก้วจอมซน” มีความเหมาะสมกับเยาวชนในทุกยุคทุกสมัย และยังมีความสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงถ่ายทอดความรู้และคำสอนที่เป็นประโยชน์หลายด้าน ทั้งการสอนความรู้ภายนอกหรือทักษะทางปัญญา และการสอนความรู้ภายในหรือทักษะด้านจิตใจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ควบคู่กันไป นับว่าทุกคำสอนได้เปิดมุมมองให้แก่ผู้อ่านซึ่งเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน และยังช่วยให้ผู้อ่านมีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังมีแนวทางในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี คำสอนที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ทั้ง 2 เรื่อง ไม่เพียงมีประโยชน์เฉพาะกลุ่มผู้อ่านที่เป็นเด็กและเยาวชนเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่เป็นกลุ่มผู้ปกครองด้วย กล่าวคือ ผู้ปกครองสามารถนำคำสอนที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ทั้ง 2 เรื่องไปปรับใช้ในการสอนเด็กและเยาวชน อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ปกครองตระหนักถึงการเรียนรู้ของเด็ก การปลูกฝังจิตสำนึกทางด้านคุณธรรมจริยธรรม รวมไปถึงการอบรมสั่งสอนอย่างมีเหตุผลตามหลักการวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้เด็กและเยาวชนเติบโตมาเป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมต่อไปด้านกลวิธีการนำเสนอคำสอนในวรรณกรรมเรื่อง “แก้วจอมแก่น” และ“แก้วจอมซน” พระองค์ทรงนำเสนอคำสอนผ่าน 3 กลวิธี คือ กลวิธีการสอนโดยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตัวละครเอง กลวิธีการสอนโดยผ่านการอบรมสั่งสอนของผู้ใหญ่ ซึ่งจะปรากฏทั้งการอบรมสั่งสอนด้วยการให้เหตุผลตามหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ และการอบรมสั่งสอนด้วยการให้เหตุผลตามหลักความเชื่อและกลวิธีการสอนโดยผ่านบุคคลต้นแบบ กลวิธีการนำเสนอคำสอนทั้ง 3 กลวิธีได้ส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจคำสอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชประสงค์จะถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต

Article Details

How to Cite
แดงสกุล เ. (2016). แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน: วรรณกรรมคำสอนเด็กร่วมสมัย. วรรณวิทัศน์, 15, 3–32. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.7
บท
บทความประจำฉบับ

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรงค์ ทองปาน. (2526). การสร้างหนังสือสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

ปราณี เชียงทอง. (2526). วรรณกรรมสําหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัญจวน อินทรคําแหง. (2517). วรรณกรรมสําหรับเด็กและวัยรุ่น. พระนคร: ดวงกมล.

แว่นแก้ว (นามแฝง). (2550). แก้วจอมแก่น (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

แว่นแก้ว (นามแฝง). (2550). แก้วจอมซน (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

จันทรา ภู่เงิน. (2549). การศึกษาวรรณกรรมสําหรับเด็กของปรีดา ปัญญาจันทร์. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุษยมาศ บุญจิตติ. (2549). คําประพันธ์สําหรับเด็กก่อนวัยรุ่นรางวัลคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ: ลักษณะทางจริยธรรมกลวิธีการนําเสนอและการประเมินค่า. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลลิดา ศุภธนสินเขษม. (2551). การวิเคราะห์วรรณกรรมสําหรับเยาวชนที่ได้รับรางวัลแว่นแก้วปีพ.ศ. 2544–2547. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วิจิตราสุภากร. (2523). การวิเคราะห์หนังสืออ่านสําหรับเด็กในด้านคุณธรรมจริยธรรมเฉพาะที่พิมพ์เป็นภาษาไทยระหว่างปีพ.ศ. 2520–2522. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (ภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนทรี มีพร้อม. (2522). วิเคราะห์หนังสือสําหรับเด็กฉบับชนะการประกวดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.