วิถีแห่งมหาบุรุษ: การศึกษาชีวประวัติศาสดาตามแนวคิดการเดินทางของวีรบุรุษภาพยนตร์

Main Article Content

ประเสริฐ รุนรา

บทคัดย่อ

ศาสดาจัดเป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนาและประวัติของศาสดาก็เป็นเรื่องเล่าสำคัญที่บอกลักษณะประวัติชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งสิ้นอายุขัยของศาสดาประวัติของศาสดาแสดงให้เห็นพัฒนาการของมหาบุรุษซึ่งมีวิถีชีวิตจากบุคคลธรรมดาจนกระทั่งกลายเป็นศาสดาของศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือลัทธิใดลัทธิหนึ่ง ในงานวิจัยนี้นำประวัติศาสดาจำนวน 5 ท่านได้แก่ พระพุทธเจ้า พระมหาวีระ พระเยซูนบีมุฮัมมัด และขงจื๊อ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างอนุภาคเหตุการณ์สำคัญที่มีร่วมกันตามแนวคิดการโครงสร้างการเดินทางของวีรบุรุษในตำ นานของคริสโตเฟอร์ โวคเลอร์ (Christopher Vogler) (1998) พบว่าโลกปัจจุบัน (Ordinary World) ของศาสดามีส่วนสัมพันธ์กับวิถีการเผยแผ่สัจธรรม กล่าวคือศาสดาที่มีโลกปัจจุบัน (Ordinary World) มีสถานะทางสังคมสูง เมื่อบรรลุธรรมแล้วจะมีวิถีการเผยแผ่ที่มุ่งความหลุดพ้นและออกจากวิถีทางสังคม ศาสดาในกลุ่มนี้ ได้แก่ พระพุทธเจ้าค้นพบทางดับทุกข์คือพระนิพพาน และพระมหาวีระค้นพบหลักแห่งอหิงษาคือโมกษะ อีกรูปแบบหนึ่งคือศาสดาที่มีโลกปัจจุบัน (Ordinary World) ไม่มีสถานะทางสังคมเมื่อบรรลุธรรมแล้วจะมีวิถีการเผยแผ่ที่มุ่งการรวมกลุ่มที่สามารถกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมได้ ได้แก่ พระเยซูพบความรักของพระเจ้านบีมุฮัมมัดค้นพบวจนะเกี่ยวกับการดำรงชีวิตจากพระเจ้า และขงจื๊อค้นพบหลักจริยศาสตร์การปกครองและการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่าโครงสร้างเหตุการณ์เกี่ยวกับความพยายามของศาสดาคือการผจญภัยอันนำไปสู่การค้นพบสัจธรรมจัดเป็นจุดเด่นที่สุดของชีวิตศาสดาซึ่งเทียบได้กับเส้นทางของวีรบุรุษในบทละคร กล่าวคือเรื่องราวการผจญภัยของวีรบุรุษในบทละครหรือภาพยนตร์มีเพื่อสร้างความตื่นเต้นและความน่าติดตามแก่ผู้ที่เสพผลงาน ในขณะเดียวกันเรื่องการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นของศาสดาก็มีเพื่อสร้างความศรัทธาให้แก่ศาสนิกชน อีกทั้งการการค้นพบสัจธรรมด้วยความยากลำบากและนำสัจธรรมที่พบมาเผยแผ่ให้แก่มวลมนุษยชาติยังแสดงให้เห็นว่าศาสดาผู้ค้นพบเป็นบุคคลที่เหนือกว่าบุคคลปกติทั่วไปและได้ทำหน้าที่อันพิเศษสูงสุดครบสมบูรณ์และควรค่าแก่การยกย่องในฐานะศาสดาของศาสนา

Article Details

How to Cite
รุนรา ป. (2016). วิถีแห่งมหาบุรุษ: การศึกษาชีวประวัติศาสดาตามแนวคิดการเดินทางของวีรบุรุษภาพยนตร์. วรรณวิทัศน์, 15, 237–271. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.12
บท
บทความประจำฉบับ

References

บารมี บุญทรง. (2552). ชีวิตและคุณูประการของโจเซฟแคมพ์เบลล์ต่อการศึกษาเทพปกรณัม. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต.

พระคริสตธรรมคัมภีร์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). (2546). กรุงเทพมหานคร: สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

พฤฒาจารย์วิพุธโยคะรัตนรังษี. (2529). แว่นส่องพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยาวิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตํานาน-นิทานพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ส.เอเชียเพรส.

สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว). (2546). พระปฐมสมโพธิตอน 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไท.

เสถียร พันธรังษี. (2495). ศาสดามหาวีระ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน.

เสถียร พันธรังษี. (2542). ศาสนาเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุขภาพใจ.

เสรี พงศ์พิศ. (2529). ศาสนาคริสต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอดิสัน.

หลี่ ฉาง จือ. (2537). ชีวประวัติขงจื้อ (พิมพ์ครั้งที่ 5), สินวิภาวสุแปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สมาพันธ์.

หุซันฺฮัยกัลป์. (2537). ศาสดามุฮัมมัดมหาบุรุษแห่งอิสลามภาค 1, กิติมา อมรทัต อุ่น หมั่นทวี จรัญ มะลูลีม แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: นัทชาพับลิชชิ่งจํากัด.

อิมรอน มุลูลีม. (2526). มุฮัมมัดศาสดาแห่งอิสลาม. กรุงเทพมหานคร: นัทชาพับลิชชิ่งจํากัด.

Campbell, Joseph. (2003). The Hero's Journey: Joseph Campbell on His Life and Work. (3rd edition). Phil Cousineau, editor. Novato, California: New World Library.

P. Schultz, Duane, and Ellen Schultz, Sydney. (1996). A History of Monern Psychology. United States of America.

Vogler, Christopher. (1989). The Writer Journey: Mythic Structure for Writers. United States of America.

http://hd108online.blogspot.com/2014/07/little-buddha/

http://pantip.com/topic/33372868/พระพุทธเจ้า/

http://movie.sanook.com/11712/พระเยซู/

http://www.christianfilmdatabase.com/review/jesus-the-movie-the-jesus-film/

https://www.facebook.com/ameenthemovie

http://www.nungmovies-hd.com/confucius/ขงจื้อ/

http://www.thairath.co.th/content/เชน:วิถีแห่งอหิงสา/

http://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=13602