ปัญหาการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นเชื้อสายกะเหรี่ยงโปและมอญ 6 โรงเรียนในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการอ่านและการพูดของนักเรียน 180 คน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์มีปัญหาการออกเสียงคำในภาษาไทย 4 ประการ คือ 1. การแทนที่ของเสียง (Substitution) 2. การไม่ออกเสียงในเสียงที่ต้องการ (Omission) 3. การออกเสียงเพิ่มไปจากเสียงที่ต้องการ (Insertion) 4. การแยกพยางค์ผิด (Parsing) ส่วนปัญหาเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นเชื้อสายกะเหรี่ยงมีปัญหาการไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายมากกว่านักเรียนเชื้อสายมอญ และนักเรียนเชื้อสายมอญมีปัญหาการแทนที่เสียงสระมากกว่านักเรียนเชื้อสายกะเหรี่ยง

Article Details

How to Cite
เลี่ยมประวัติ ส. (2016). ปัญหาการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เชื้อสายกะเหรี่ยงและมอญ จังหวัดกาญจนบุรี. วรรณวิทัศน์, 15, 319–344. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.14
บท
บทความประจำฉบับ

References

จิตประภา ศรีอ่อน. (2522). ปัญหาการพูดภาษาไทยไม่ชัดของเด็กชาวเขาเผ่าม้งในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรงค์ ฤทธิโสภา. (2531). การวิเคราะห์ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นเด็กเล็กและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พูดภาษาเขมรและภาษาส่วยในชีวิตประจําวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระพันธ์ เหลืองทองคํา, และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องวิจัยและพัฒนาแบบฝึกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านออกเสียงและการพูดภาษาไทยไม่ชัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

นริศรา โฉมศิริ. (2547). การศึกษาบริบททางภาษาศาสตร์วัฒนธรรมของชื่อชาวมอญกรณีศึกษาชาวมอญที่บ้านวังกะ ตําบลหนองลู อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

บรรเลง สุปี. (2536). การวิเคราะห์ความยากง่ายในการอ่านและการเขียนคําพื้นฐานภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประจิตต์ อภินัยนุรักต์. (2527). การศึกษาเปรียบเทียบความบกพร่องทางการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประถมสาธิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ประสงค์ รายณสุข, และคณะ. (2523). การศึกษาและวิธีการแก้ไขการพูดภาษาไทยของเด็กชาวเขา. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พจนารถ เสมอมิตร. (2526). ระบบเสียงภาษาโผล่ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พราวพร อ่วมเจริญ, และสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (มกราคม–เมษายน 2558). การเปรียบเทียบการพูดการและการเขียนจากการเล่าเรื่องของเด็กออทิสติก. วารสารวิชาการ Veridian E-journal 8,1, 988–1011.

เพ็ญศิริ เทพวิทักษ์กิจ. (2530). การวิเคราะห์ลักษณะการพูดไม่ชัดของเด็กในโรงเรียนเขตอําเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสนอ ตรีวิเศษ. (2542). การวิเคราะห์ปัญหาการพูดและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในเขตอําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ใช้ภาษาเขมรและภาษาส่วยในชีวิตประจําวัน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2545). เสียงและระบบเสียงภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Mukgoen, Sunee. (1980). Articulatory Characteristics of School Children Aged Three to Eight Years in Phya Thai Area. Master Thesis, Mahidol University.

Selingker, L. (1997). “Interlanguage” In Error Analysis. Singapore: Singapore offset Printing Ltd.