กลบทสุภาษิตของหลวงธรรมาภิมณฑ์

Main Article Content

วรางคณา ศรีกำเหนิด

บทคัดย่อ

กลบทสุภาษิตเป็นวรรณกรรมกลบทที่หลวงธรรมาภิมณฑ์แต่งขึ้น เนื้อหาเป็นสุภาษิตสอนใจและสอนหลักปฏิบัติทั่วๆ ไปโดยไม่เน้นกลุ่มบุคคลใดเป็นพิเศษ ลักษณะคำประพันธ์ใช้รูปแบบกลอนเพลงยาว คือ ขึ้นต้นด้วยวรรครับและจบวรรคสุดท้ายด้วยคำว่า "เอย" บทกลอนทั้งหมดแบ่งเป็น ๗๒ ช่วง แต่ละช่วงประกอบด้วยกลอนช่วงละ ๓ บทใน ๗๒ ช่วงนี้ยังจำแนกลักษณะคำประพันธ์ออกเป็นกลอนแปด ๑๔ ช่วง กลอนกลบท ๔๘ ช่วง (ใช้กลบท ๔๘ ชนิด) และกลอนกลอักษร ๑๐ ช่วง (ใช้กลอักษร ๑๐ ชนิด) นอกจากนี้จากเปรียบเทียบกลบทสุภาษิตกับวรรณคดีที่เป็นแม่แบบของกลอนกลบทคือ กลบทศิริวิบุลกิตติ์ เพลงยาวกลบท และเพลงยาวกลอักษรแล้ว จะพบว่ากลบทสุภาษิตนั้นน่าจะได้อิทธิพลมาจากเพลงยาว กลบทและเพลงยาวกลอักษรมากกว่ากลบทศิริวิบุลกิตติ์ทั้งในด้านรูปแบบและแนวการแต่ง

Article Details

How to Cite
ศรีกำเหนิด ว. (2016). กลบทสุภาษิตของหลวงธรรมาภิมณฑ์. วรรณวิทัศน์, 1, 71–85. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2001.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๓๗.

โกชัย สาริกบุตร. การวิเคราะห์กลบทในกวีนิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู, ๒๕๑๙.

จารีต เชาว์ขุนทด. "วิเคราะห์วรรณกรรมของหลวงธรรมาภิมณฑ์." วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๒๙.

ธรรมาภิมณฑ์, หลวง. กลบทสุภาษิต. พระนคร: โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๕๗.

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. พระนคร: ผ่านฟ้าวิทยา, ๒๕๑๐.

ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๑.