ภาษาปาก

Main Article Content

อรพันธ์ บวรรักษา

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้กล่าวถึงลักษณะของภาษาปาก และได้แบ่งภาษาปากที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ออกเป็น ๙ ประเภท คือคำตัดสั้นหรือคำย่อ คำที่มีเสียงเพี้ยนไปจากเดิม คำสร้อย คำสแลง คำที่ใช้เป็นสำนวน คำยืมจากภาษาอื่น คำที่มีลักษณะเฉพาะ คำที่ใช้บอกลักษณะ และคำที่เป็นคำต่ำ คำหยาบ คำที่เกี่ยวกับอวัยะเพศหรือพฤติกรรมทางเพศ หรือคำที่ใช้แทนคำต้องห้าม ต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับภาษาปากไว้ดังนี้ ประการแรก มีคำภาษาปากจำนวนหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เลิกใช้แล้วแต่ยังปรากฏอยู่ในพจนานุกรม ประการที่สอง คำภาษาปากจำนวนมากเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย ประการสุดท้าย มีการนำคำยืมจากภาษาต่างประเทศมาใช้เป็นภาษาปากในลักษณะต่างๆ โดยปรับและเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะของภาษาไทย

Article Details

How to Cite
บวรรักษา อ. (2016). ภาษาปาก. วรรณวิทัศน์, 1, 100–106. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2001.7
บท
บทความประจำฉบับ

References

คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การใช้ภาษาไทย ๑. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘.

บุญยงค์ เกศเทศ. คำไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๒.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. ๒๕๓๘.

วัลยา ช้างขวัญยืน. "การใช้ภาษาไทยให้เหมาะกับระดับการศึกษา," การพัฒนาทักษะทางภาษาหน่วยที่ ๑-๔. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, ๒๕๓๗.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๒.

อรพันธ์ บวรรักษา. "รายงานวิจัยเสริมหลักสูตร เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓ กับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕." วิจัยเสริมหลักสูตรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐.