การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การซ้อนคำในภาษาไทยเป็นวิธีการสร้างคำขึ้นใช้ในภาษาไทยวิธีหนึ่ง ที่คนไทยนิยมตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวเกิดจากการซ้อนคำหรือกลุ่มคำตั้งแต่ ๒ ถึง ๔ หน่วยที่มีความหมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกันหรือตรงข้ามกัน ผู้เขียนได้ศึกษาการซ้อนคำที่เกิดจากความหมายทั้ง ๓ ประการ ในด้านลักษณะ หน้าที่ และที่มาของคำที่นำมาซ้อนกัน นอกจากนั้นยังได้ศึกษาการพัฒนาการซ้อนคำตั้งแต่สมัยดั้งเดิม ผลการศึกษาแสดงว่าคำหรือกลุ่มคำที่นำมาซ้อนกันนั้นมีสาเหตุมาจากความหมาย ซึ่งเหมือนกัน คล้ายคลึงกันหรือตรงข้ามกัน โดยไม่คำนึงว่าลักษณะของคำ จำนวนพยางค์ ที่มาของคำ ระดับของคำที่นำมาซ้อนแตกต่างกันหรือไม่ การซ้อนคำดังกล่าวบางกรณีทำให้เกิดคำซ้อน ซึ่งจะมีความหมาย ๓ ประการ คือ ความหมายเป็นความหมายเดียว ความหมายเพิ่มจากความหมายเดิมของหน่วยแต่ละหน่วย และความหมายเป็นความหมายรวม ผลการสำรวจทัศนคติของคนไทย ๘๐ คน (อาจารย์มหาวิทยาลัย ๔๐ คน และนิสิต ๔๐ คน) ต่อการซ้อนคำ ปรากฏว่าร้อยละ ๗๗.๕ เห็นว่า ข้อความภาษาไทยที่มีการซ้อนคำไพเราะสละสลวยกว่าข้อความที่ไม่มีการซ้อนคำ ข้อสังเกตประการหนึ่งที่พบคือ การซ้อนคำซึ่งแต่เดิมเป็นการซ้อนคำหรือกลุ่มคำธรรมดา ได้พัฒนาเป็นการซ้อนสลับและการซ้อนซ้ำ นอกจากนั้นเรามักพบลักษณะคำที่มีการซ้อนคำในข้อความที่เป็นพรรณราโวหารและเทศนาโวหารด้วย
Article Details
References
กาญจนา นาคสกุล. พจนานุกรมไทย-เขมร. ๒ เล่ม. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖. (อัดสำเนา).
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๐.
คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๓. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๐๘.
คณะกรรมการชำระปทานุกรม. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. ๒ เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘.
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เจ้าภาพจัดพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพหม่อมราชวงศ์กุนตี อ่องระเบียบ. กรุงเทพฯ: บริษัทสารมวลชนจำกัด, ๒๕๒๗.
จันทบุรีนฤนาท, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนศิวพร, ๒๕๑๓.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุการรับเสด็จพระบาทพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปครั้งหลัง ร.ศ.๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐). พิมพ์ครั้งที่ ๔. เจ้าภาพพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจันทร์ เทวกุล. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๓.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค ๒๔. เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าจงกลนี วัฒนวงศ์. พระนคร: โรงพิมพ์ตีรณสาร, ๒๕๐๘.
ชวน เซียวโซลิต. ปทานุกรมจีน-ไทย. พระนคร: บริษัทนานมี, ๒๕๒๕.
ญาณสังวร, สมเด็จพระสังฑราชสกลมหาสังฆปรินายก. พระพรประทานปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๖. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๖.
นราธิปพงศ์ประพันธ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. วิทยาวรรณกรรม. พระนคร: แพร่พิทยา, ๒๕๐๖.
นรินทรเทวี, กรมหลวง. จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พิมพ์พร้อมกับฉบับเพิ่มเติม (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๑๘) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะตอน พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๖๓). พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๙.
บรรจบ พันธุเมธา. พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน. ๕ เล่ม. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์, ๒๕๑๗.
บรัดเลย์, แดนนิช. หนังสืออักขราภิธานศรับท์. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๑๔.
บรัดเลย์, แดนนิช. พจนานุกรม มอญ-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, ๒๕๑๓.
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและนครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๖๙. เจ้าภาพพิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ ม.ร.ว.ทรงพันธุ์ ศุขสวัสดิ์. พระนคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๐๗.
ประกาศอักษรกิจ, พระยา (ผู้เรียบเรียง). จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. [ม.ป.ท.], ๒๔๖๘.
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันเอกพระยาสิริจุลเสวก. พระนคร: โรงพิมพ์เดลิเมล์, ๒๔๘๐.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชสาส์นในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานไปยังประเทศจีน. เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์เจียน ฉัตรกุล. พระนคร: โรงพิมพ์เอกการพิมพ์, ๒๕๐๕.
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ.๑๒๘. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๖.
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เทศนาเสือป่า. [ม.ป.ท.]: ๒๔๕๗.
ราตรี ธันวารชร. "การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย." วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔. (อัดสำเนา).
ราตรี ธันวารชร. "ลักษณะคำไวยากรณ์ในภาษาไทย." วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๖. (อัดสำเนา).
ราตรี ธันวารชร. การศึกษาวิเคราะห์คำในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของประชุมรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๑.
วชิรณาฯวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระประวัติตรัสเล่า. พิมพ์ครั้งที่ ๓. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๐๘.
ศิลปากร, กรม. กฎหมายตราสามดวง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมศึกษา, ๒๕๒๑.
ศิลปากร, กรม. จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ เล่ม ๓ จุลศักราช ๑๑๗๑-๑๑๗๔. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, ๒๕๒๘.
ศิลปากร, กรม. จารึกสมัยสุโขทัย. กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐ ปีลายสือไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๗.
สง่า กาญจนาคพันธ์. รองอำมาตย์โท [ขุนวิจิตรมาตรา]. หลักไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ, ๒๕๑๓.
อนุมานราชธน, พระยา. นิรุกติศาสตร์ ภาค ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๑.
อุปกิตศิลปสาร, พระยา. หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๕.
Boyle, J. A. Persian-English Dictionary. U.S.A.: Saphrograph co., 1965.
Halliday, R. M. A Mon-English Dictionary. Rangoon: The Men Cultural Section of Union Culture Government of the Union of Burmar, 1955.
Joseph, Guesdon. Dictionaire Combodgien-Francais. 2 vols. Paris: Libraric Plon, 1930.
Nhim, Dieu Chinh le Donalabson, Jean. Pap San Kham Pak Tay-Keo and Tai-Victnamese-English Dictionary. Saigon: Bo Giao-Dux Xuat Ban, 1970.