คติธรรมในกลอนสุภาษิตของสุนทรภู่: คุณค่าที่ไม่เคยล้าสมัย

Main Article Content

รังรอง นิลประภัสสร

บทคัดย่อ

กลอนสุภาษิต ๓ เรื่องของสุนทรภู่ ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง นับเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าด้านคติธรรมอย่างยิ่ง คติธรรมที่พบในกลอนสุภาษิตทั้ง ๓ เรื่อง ทั้งคติธรรมซึ่งมีที่มาจากสภาพสังคมไทยสมัยนั้น (สมัยกรุงรัตนโกสินทร์) คติธรรมซึ่งมีที่มาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตลอดจนคติธรรมซึ่งมีที่มาจากการจัดการศึกษา นอกจากจะสะท้อนสภาพสังคมไทยในสมัยนั้นแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นแนวประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมไทยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของสมาชิกในสังคมให้มีคุณภาพสมดังที่สังคมปรารถนา อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าสืบไป

Article Details

How to Cite
นิลประภัสสร ร. (2016). คติธรรมในกลอนสุภาษิตของสุนทรภู่: คุณค่าที่ไม่เคยล้าสมัย. วรรณวิทัศน์, 2, 31–46. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2002.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

กฤษณา วงศาสันต์ และคนอื่นๆ. วิถีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทคอมฟอร์ม จำกัด, ๒๕๔๒.

เจือ สตะเวทิน. สุนทรภู่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์, ๒๕๑๖.

ฐิติมา อนุกูลวรรธกะ. ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๒.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. ชีวิตและงานของสุนทรภู่. นครหลวงฯ: บรรณาคาร, ๒๕๑๕.

บังอร ปิยะพันธ์ุ. ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๓๘.

ฟื้น ดอกบัว. พระพุทธศาสนากับคนไทย. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๒.

ภิญโญ ศรีจำลอง. "วัยเยาว์ของสุนทรภู่," โคตรญาติ "สุนทรภู่" กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๒๙.

รัชนีกร เศรษโฐ. โครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. ๒๕๓๒.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อ.จ.ท. จำกัด, ๒๕๓๙.

ศิลปากร, กรม. ประถม ก กา ประถม ก กา หัดอ่าน ปฐมมาลา อักษรนิติ แบบเรียนหนังสือไทยฉบับหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: โรงพิมพ์เจริญธรรม. ๒๕๐๖.

สมบัติ จันทรวงศ์. โลกทัศน์ของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๗.

สวัสดิ์ พินิจจันทร์. คติธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, [ม.ป.ป.].

สุพิศวง ธรรมพันทา. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์, ๒๕๓๒.