ลักษณะการใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์ไทย

Main Article Content

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร

บทคัดย่อ

ภาษาในหนังสือพิมพ์ไทยเป็นภาษาที่จัดว่ามีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจาการใช้ภาษาทั่วไป ภาษาที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์มีลักษณะน่าสนใจหลายประการ คือ มีการใช้คำแบบต่างๆ ทั้งการใช้คำล้องจอง คำตัดสั้น อักษรย่อการใช้ความหมายโดยนัย คำสแลง คำทับศัพท์ ทั้งนี้ยังพบว่ามีการใช้คำผิดความหมาย การสร้างคำและกลุ่มคำขึ้นใหม่ด้วย ในด้านรูปประโยคมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง คือ ภาษาหนังสือพิมพ์มีการใช้ประโยคกำกวม การใช้คำผิดหน้าที่ในประโยค การไม่ใช้ลักษณะนาม แต่ก็มีลักษณะที่สร้างสรรค์คือการสร้างสารัตถภาพของประโยค ส่วนเรื่องระดับภาษานั้น มีการใช้ทั้งภาษาระดับแบบแผน กึ่งแบบแผน และภาษาปาก มีข้อสังเกตว่าบางคั้งผู้เขียนได้ระดับภาษาที่ไม่เหมาะสมกับการรายงานข่าว นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์ยังมีการใช้สำนวนและภาพพจน์เป็นจำนวนมากเพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่านและทำให้ผู้อ่านซาบซึ้งประทับใจ

Article Details

How to Cite
เพิ่มเกษร น. (2016). ลักษณะการใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์ไทย. วรรณวิทัศน์, 2, 126–136. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2002.11
บท
บทความประจำฉบับ

References

จำนง วิบูลย์ศรี และดวงทิพย์ วรพันธ์ุ. "วิวัฒนาการของภาษาเพื่อการเสนอข่าวหนังสือพิมพ์ไทย," รายงานการวิจัยเรื่องภาษากับมวลชน. [ม.ป.ท.], ๒๕๒๖. อัดสำเนา.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. สัมมนาการใช้ภาษาไทยไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๒๓.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. "การใช้ภาษาไทยในหนังสือพิมพ์ไทย," รายงานการวิจัยเสริมหลักสูตร. ทุนวิจัยเสริมหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘. อัดสำเนา.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. การเขียนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๘.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: วิชาการ, ๒๕๒๕.

รจิตลักษณ์ แสงอุไร. "หนังสือพิมพ์กับการใช้ภาษา," นิเทศสาร ๘ (กันยายน, ๒๕๒๒), ๗๘-๘๑.

วัลยา ช้างขวัญยืน. "ประโยค," ภาษากับการสื่อสาร. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาบังคับพื้นฐาน มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.

สนั่น ปัทมะทิน. "ความสำคัญของการใช้ภาษาไทยในสื่อมวลชน," ภาษาไทยที่สื่อมวลชนใช้ผิดพลาด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๕.

สุกัญญา ตีระวณิช. "ภาษาหนังสือพิมพ์และนิตยสาร," เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ ๘-๑๕. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, ๒๕๒๙.