บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน จากประวัติศาสตร์ผสานจินตนาการสู่นวนิยายอันทรงคุณค่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนเสนอทัศนะและชี้คุณค่าชองนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน ที่แก้วเก้าประพันธ์เพื่อเทิดพระวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัยอันปรากฏในประวัติศาสตร์อยุธยาเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ แก้วเก้าได้ศึกษาค้นคว้าพงศาวดารและเอกสารรวมทั้งหนังสือจำนวนมาก และตั้งคำถามว่าหากไม่มีพระวีรกรรมนี้ชาติไทยอาจสูญสลายนับแต่บัดนั้น แก้วเก้าได้สร้างจินตนาการและเรียบเรียงเรื่องเป็นนวนิยายที่มีองค์ประกอบเป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์อย่างครบถ้วน ค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ทั้งยังใช้ฝีมือการประพันธ์ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งในวีรกรรมของพระองค์ และตระหนักถึงหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่พึงรักษาชาติไว้ยิ่งกว่ารักษาชีวิต นอกจากนี้ นวนิยายบารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน ยังทำให้คนไทยเกิดความสนใจใฝ่รู้และศึกษาประวัติศาสตร์ไทยซึ่งยังมีแง่มุมอีกมากมายให้ศึกษาค้นคว้า
Article Details
References
แก้วเก้า [คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์]. บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน. กรุงเทพฯ: เพื่อนดี, ๒๕๔๕.
"ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน กับหนังสือ บารมีพระแม่ป้อง ปกฟพื้นธรณิน ในความทรงจำ." คอลัมน์ถนนสาย วี.ไอ.พี. สกุลไทย, ๔๘: ๒๕๐๓ (๘ ตุลาคม ๒๕๔๕), ๗๓.
บาหยัน อิ่มสำราญ. "สงครามคราวสมเด็จพระสุริโยทัยขาดคอข้างใน ผู้ชนะสิบทิศ ของ "ยาขอบ"." ภาษาและวรรณกรรมไม่เคยตาย รวมบทความวิชาการภาษาและวรรณกรรมสาร ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: บริษัทแซทโฟร์พริ้นติ้ง จำกัด. ๒๕๔๖. หน้า ๑๒๐-๑๕๑.
พจมาน พงษ์ไพบูลย์. "วันแห่งความทรงจำ แนะนำหนังสือ บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน." คอลัมน์ รายงานวรรณกรรม สกุลไทย ๔๘: ๒๕๐๓ (๘ ตุลาคม ๒๕๔๕), ๓๐-๓๒, ๑๐๕.
พวงแก้ว ลภิรัตนกุล. "บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน" คอลัมน์รายงานเชิงวรรณกรรม สกุลไทย ๔๙: ๒๕๔๓ (๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖), ๔๐-๔๑.
ไพลิน รุ้งรัตน์ [ชมัยภร แสงกระจ่าง]. "ก่อนจะมาเป็น บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน ของ "แก้วเก้า"" สกุลไทย ๔๘:๒๕๔๘ (๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๔), ๓๔-๓๖.
ยุรฉัตร บุญสนิท. "นวนิยายเหนือธรรมชาติของ "แก้วเก้า"." ภาษาและหนังสือ ฉบับนวนิยายไทย ๑๙:๒ (ตุลาคม ๒๕๒๙-มีนาคม ๒๕๓๐). ๗๕-๘๕.
วินิตา ดิถียนต์. "คุณค่าของงานนวนิยายอิงประวัติศาสตร์." เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง "แรงดึงของอดีตและแรงรุกของอนาคตในวรรณกรรม การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมไทยและอินเดีย" จัดโดยศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ ๒๙-๓๐ มกราคม ๒๕๓๙. (เอกสารอัดสำเนา)
อุษณี ธงไชย. "ความรู้พื้นฐานประวัติศาสตร์อยุธยา," ใน ประวัติศาสตร์ไทยจะเรียนจะสอนกันอย่างไร คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษา, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา, ๒๕๔๓. หน้า ๑๔๑-๑๘๕.