อิทธิพลของภาษาไทยกรุงเทพฯ กับการใช้คำของผู้พูดภาษาไทยอีสาน จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อรพัช บวรรักษา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันภาษาไทยอีสาน จังหวัดชัยภูมิ กำลังอยู่ในช่วงระยะเวลาของการปรับตัวให้เหมือนหรือคล้ายภาษาไทยกรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญ ๒ ประการ คือ ปัจจัยทางสังคมในแง่วัยของผู้พูดภาษา และปัจจัยจากอิทธิพลของภาษาไทยกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลให้ภาษาแปรไป ๓ ลักษณะ คือ มีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยกรุงเทพฯ แทนคำศัพท์เดิมในภาษาไทยอีสาน มีการสร้างคำศัพท์ใหม่โดยประสมคำศัพท์เดิมกับศัพท์ภาษาไทยกรุงเทพฯ และการแปรเสียงวรรณยุกต์ให้เหมือนเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ

Article Details

How to Cite
บวรรักษา อ. (2016). อิทธิพลของภาษาไทยกรุงเทพฯ กับการใช้คำของผู้พูดภาษาไทยอีสาน จังหวัดชัยภูมิ. วรรณวิทัศน์, 3, 84–93. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2003.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๑. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๓. พิมพ์ครั้งที่ ๓. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. ๒๕๔๒. "คำยืมในภาษาไทยยวนภาคกลาง." วารสารภาษาและวัฒนธรรม. ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๔๒), หน้า ๖๑-๗๒.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ๒๕๔๑. ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ๒๕๔๒. ภาษาในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพันธ์ บวรรักษา. ๒๕๔๕. รายงานผลงานวิจัยเสริมหลักสูตรเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยอีสาน จังหวัดชัยภูมิ: โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bloomfield, Leonard. 1961. Language. USA: Holt, Rinehart and Winston.