ธรรมชาติกับวรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่

Main Article Content

วัลลภา วิทยารักษ์

บทคัดย่อ

สุนทรภู่มีความสามารถในการนำเสนอธรรมชาติที่พบเห็นอยู่เสมอมาร้อยเรียงไว้ในนิราศได้อย่างแนบเนียน ไพเราะ น่าสนใจ และได้อรรถรส โดยมีวิธีการกล่าวถึงธรรมชาติต่างๆ ได้แก่ การกล่าวถึงธรรมชาติเป็นภาพกว้างโดยตรง การใช้ศิลปะการเปรียบเทียบ การชี้ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของพืชหรือสัตว์บางชนิดในด้านรูปร่าง เสียงร้อง พฤติกรรม ทำให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น บางครั้งกวีนำธรรมชาติไปเชื่อมโยงเพื่อแสดงความรู้สึกและแสงความสัมพันธ์ระะหว่างกวีกับนางที่รัก บางครั้งกวีนำธรรมชาติมาใช้เพื่อแสดงความคิดเห็น ให้คติหรือข้อคิดที่เป็นประโยชน์และสะท้อนโลกทัศน์ของกวีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การกล่าวถึงธรรมชาติในวรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่นี้ยังเป็นส่วนที่กวีได้แสดงความสามารถทางวรรณศิลป์ให้เป็นที่ประจักษ์อีกด้วย

Article Details

How to Cite
วิทยารักษ์ ว. (2016). ธรรมชาติกับวรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่. วรรณวิทัศน์, 3, 134–151. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2003.8
บท
บทความประจำฉบับ

References

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (บรรณาธิการ). สุนทรภู่รอบรู้วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๓๗.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ชีวิตและงานของสุนทรภู่. นครหลวงฯ: บรรณาคาร, ๒๕๑๕.

เปลื้อง ณ นคร. "พบวรรณกรรมเรื่องใหม่ของสุนทรภู่." เกียรติคุณของสุนทรภู่. จัดพิมพ์โดยคณะอนุกรรมการโครงสร้างห้องสมุดอนุสรณ์สุนทรภู่ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพณฯ: ประกายพรึก, ๒๕๒๕, หน้า ๓-๑๕.

พีรชาติ ลีรวัฒนางกูร. "ปริทัศน์ 'โคลงนิราศสุพรรณ' ของสุนทรภู่." วัฒนธรรมไทย ๑๑ (มกราคม, ๒๕๑๕), ๒๕-๓๑.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อ.จ.ท. จำกัด, ๒๕๓๙.

วาสนา กุลประสูตร. "พิลาปร่ำ ลำน้ำเพชร." อนุสาร อ.ส.ท. ๒๖ (มิถุนายน, ๒๕๒๙), ๘๓-๘๙.

สามารถ สัมพันธรักษ์. "สุนทรภู่กับธรรมชาติ." จันทรเกษม ฉบับที่ ๙๙ (มีนาคม-เมษายน, ๒๕๑๔), ๗๖-๘๑.

เสงี่ยม คุมพวาส. "จินตนาการของสุนทรภู่." วัฒนธรรมไทย ๑๐ (สิงหาคม, ๒๕๑๓), ๖๑-๖๕.

อุทัย สินธุสาร. สารานุกรมไทย เล่ม ๒. [ม.ป.ป.ม., ม.ป.ท.].