ลิลิตพระฦา วรรณกรรมที่ดัดแปลงจากลิลิตพระลอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรื่องลิลิตพระฦานี้เป็นวรรณกรรมเรื่องหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเก่าเรื่องลิลิตพระลอ แต่ผู้แต่งปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องหลายตอนเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้แต่งที่ต้องการให้จบเรื่องอย่างมีความสุข แม้ว่ารายละเอียดต่างๆ ในเรื่องจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เรื่องลิลิตพระฦา ก็ยังคงรักษาแนวคิดเรื่องบุญทำกรรมแต่งไว้ เพียงแต่พระฦาดูจะเป็นพระเอกที่โชคดีกว่าเพราะพระฦามิได้ปล่อยชีวิตไปตามวิถีแห่งกรรมดังเช่นพระลอ แต่รู้จักวิธีคิดพิจารณาแก้ไขปัญหาทำให้พระฦาประสบความสุขได้อย่างไม่มีในลิลิตพระลอ
Article Details
References
โคลงเรื่องรามเกียรติ์ จารึกอยู่ที่เสาพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. พระนคร: แพร่พิทยา, ๒๕๐๘.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. อ่านลิลิตพระลอ: ฉบับวิเคราะห์และถอดความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.
ดวงมน จิตร์จำนง. หลังม่านวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: เทียนวรรณ. ๒๕๒๘.
นิตยา กาญจนะวรรณ. วรรณกรรมอยุธยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๑๕.
พิเชต [มหากลัด], พระราชครู. ลิลิตพระฦา. พิมพ์ครั้งที่สี่. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายช่วย แสงสุชาติ ณ เมรุวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วันที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๓. องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๑๓.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครเรื่องอิเหนา. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๐.
รื่นฤทัย สัจจพันธ์ุ. มิใช่เป็นเพียง "นางเอก". กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๔.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. ศาสตร์และศิลป์แห่งวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, ๒๕๔๔.
วิภา กงกะนันทร์. พระเอกในวรรณกรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๔๐.
ศิลปากร, กรม. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.
สุนทรภู่. พระอภัยมณี ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม ๑. พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๐๖.