รายงานวิจัยเรื่องการใช้คำในพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวัน: ศึกษารูปคำและความหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง "การใช้คำพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวัน: ศึกษารูปคำและความหมาย" นี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาการใช้คำในพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวันโดยศึกษารูปคำและความหมาย รวมทั้งหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำในพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวัน เปรียบเทียบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ผลการศึกษาพบว่า พาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์รายวันมีการใช้คำอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ในบางปริบทใช้รูปคำเดิมแต่ความหมายของคำไม่เหมือนความหมายในพจนานุกรม โดยความหมายของคำอาจเปลี่ยนแปลงไปบางส่วนหรือความหมายของคำแตกต่่างไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม ในบางปริบทเปลี่ยนแปลงรูปคำจากรูปคำในพจนานุกรมหรือบางคำอาจมีความหมายไม่เหมือนความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม นอกจากนี้ในบางปริบทใช้รูปคำตามพจนานุกรมแต่เปลี่ยนหน้าที่ทางไวยากรณ์ หรือทั้งเปลี่ยนแปลงรูปคำและหน้าที่ทางไวยากรณ์ต่างไปจากที่ระบุไว้ในพจนานุกรม
Article Details
References
ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๑.
จำนง วิบูลย์ศรี, และดวงทิพย์ วรพันธุ์. ภาษากับสื่อมวลชน วิวัฒนาการของภาษาเพื่อเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
ดิเรกชัย มหัทธนะสิน. หน่วยคำภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๒๘.
ดุษฎีพร ชำนิโรคศาสตร์. ภาษาเชิงประวัติและเปรียบเทียบ. ๒๕๒๖. (อัดสำเนา)
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์ไทย. โครงการวิจัยเสริมหลักสูตรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘.
นววรรณ พันธุเมธา. การใช้ภาษา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๑๕.
น้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์. การเปลี่ยนแปลงของภาษา: ภาษาอังกฤษผ่านกาลเวลา. โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
บรรจบ พันธุเมธา. ลักษณะภาษาไทย. พระนคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๑๔.
บุญยงค์ เกศเทศ. เขียนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: จินตภัณฑ์การพิมพ์, ๒๕๒๔.
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. การเขียนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๘.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓. อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๐.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๓. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดนนทชัย, ๒๕๒๓.
ราตรี ธันวารชร. วิวัฒนาการของภาษาไทย. ๒๕๓๙. (อัดสำเนา)
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๑.
วัลยา วิมุกตะลพ. "การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำ สำนวนและลำดับของคำในภาษาสมัยรัตนโกสินทร์." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต แผนกวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๓.
วิจินตน์ ภาณุพงศ์. โครงสร้างภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๒๐.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๐.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ: วิวัฒนาการภาษษไทยและภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๖.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. "รายงานการวิจัยเรื่องลักษณะภาษาไทยที่ใช้ผ่านสื่อมวลชนโทรทัศน์." กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๗.
สมพร มันตะสูตร. สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: พีระพัธนา. ๒๕๒๕.
สำนักพจนานุกรม มติชน. พจนานุกรมนอกราชบัณฑิตฯ. กรุงเทพฯ: มติชน. ๒๕๔๔.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๓ หน่วยที่ ๗-๑๕. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, ๒๕๓๔.
สุริยา รัตนกุล. อรรถศาสตร์เบื้องต้น. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๔๔.
อนุมานราชธน, พระยา. นิรุกติศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์เอกสารเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี พระยาอนุมานราชธน, ๒๕๓๒.
อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๑๙.
อุปกิต ศิลปสาร, พระยา. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๘.
อุมาภรณ์ สังขมาน. "การศึกษาคำที่ใช้ภาษาโฆษณา: การประกอบคำและความหมาย." วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๘. (อัดสำเนา)