สำนวนภาษาสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน): มุมมองจากการเชื่อมโยงความ

Main Article Content

สุนีย์ ลีลาพรพินิจ

บทคัดย่อ

มุมมองจากการเชื่อมโยงความที่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ทั้ง ๕ ประเภท อันได้แก่ การอ้างถึง การแทนที่ การละ การใช้คำเชื่อม และการซ้ำ แสดงให้เห็นว่ากลวิธีการเชื่อมโยงความดังกล่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สำนวนภาษาในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มี ๔ ลักษณะ ได้แก่ ใช้สำนวนสั้น กระชับ ใช้คำน้อยแต่สื่อความหมายลึกซึ้ง ใช้คำหลากแต่มีเอกภาพ และใช้สำนวนที่มีสัมพันธภาพ ซึ่งสอดคล้องกับคำยกย่องของวรรณคดีสโมสร (พ.ศ. ๒๔๕๗) ว่า สำนวนแปลสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็น "ยอดแห่งความเรียงเรื่องนิทาน" อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
ลีลาพรพินิจ ส. (2016). สำนวนภาษาสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน): มุมมองจากการเชื่อมโยงความ. วรรณวิทัศน์, 5, 147–167. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2005.7
บท
บทความประจำฉบับ