การแปรตามวัจนลีลาของการออกเสียงพยัญชนะท้าย (f) และ (l) ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย

Main Article Content

อำนาจ ปักษาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรของการออกเสียงพยัญชนะท้าย (f) และ (l) ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทยตามตัวแปรวัจนลีลา ๓ แบบ ซึ่งเรียงลำดับจากวัจนลีลาที่เป็นทางการน้อยไปวัจนลีลาที่เป็นทางการมาก ได้แก่ วัจนลีลาแบบการสัมภาษณ์ วัจนลีลาแบบการอ่านข้อความ และวัจนลีลาแบบการอ่านรายการคำ โดยคำที่ใช้ทดสอบเป็นคำยืมภาษาอังกฤษจำนวน ๒๐ คำ แบ่งเป็นคำที่มีพยัญชนะท้ายเป็น (f) ๑๐ คำ และคำที่มีพยัญชนะท้ายเป็น (l) ๑๐ คำ ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๓๐ คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแปรของการออกเสียงพยัญชนะท้าย (f) มี ๒ รูปแปร ได้แก่ [f] และ [p] โดยปรากฎรูปแปร [p] มากกว่า [f] ส่วนรูปแบบของการออกเสียงพยัญชนะท้าย (f) มี ๓ รูปแปร ได้แก่ [l] [n] และ [w] รูปแปรที่ปรากฎมากที่สุดคือ [n] รองลงมาคือ [w] และ [l] ตามลำดับ ด้านการแปรตามวัจนลีลาพบว่า รูปแปร [f] และ [l] ปรากฏมากที่สุดในวัจนลีลาแบบการอ่านรายการคำ รองลงมาคือวัจนลีลาแบบการอ่านข้อความ และวัจนลีลาแบบการสัมภาษณ์ ตามลำดับ ขณะที่รูปแบบ [p] [n] แล [w] ปรากฏมากที่สุดในวัจนลีลาแบบการสัมภาษณ์ รองลงมาคือวัจนลีลาแบบการอ่านข้อความ และวัจนลีลาแบบการอ่านรายการคำ ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ปักษาสุข อ. (2016). การแปรตามวัจนลีลาของการออกเสียงพยัญชนะท้าย (f) และ (l) ในคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 9, 92–106. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2009.4
บท
บทความประจำฉบับ