รัฐประหาร พ.ศ. 2549 กับแนวคิดประชาธิปไตยในกวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า

Main Article Content

ธงชัย แซ่เจี่ย

บทคัดย่อ

เหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสังคมเป็นวงกว้างแล้ว ยังส่งผลต่อการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้าของกวีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้าในช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2553 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเหตุการณ์รัฐประหารดังกล่าว จากเหตุการณ์รัฐประหารที่เกิดขึ้น กวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้าได้นำเสนอแนวคิดประชาธิปไตย 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดการยึดมั่นและยืนหยัดในประชาธิปไตย แนวคิดรัฐประหารทำลายประชาธิปไตย และแนวคิดรัฐประหารแสดงถุงความอ่อนแอของประชนชนในระบบประชาธิปไตน โดยนัยหนึ่งของแนวคิดเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงทัศนคติเชิงลบที่มีต่อเหตุการณ์รัฐประหารดังกล่าว ส่วนอีกนัยหนึ่งก็อาจถือได้ว่าเป็นการเชิดชูความสำคัญของระบบประชาธิปไตยว่ายังเป็นระบอบการปกครองที่พึงปรารถนาด้วยในขณะเดียวกัน นอกจากนี้แนวคิดประชาธิปไตยจากเหตุการณ์รัฐประหารดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้น ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของการเมืองภาคประชาชนซึ่งยังไม่สามารถก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตยของไทยได้อย่างเต็มที่ หากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองของระบอบประชาธิปไตยไทยยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง อนาคตของประชาธิปไตยไทยก็จะยังคงย่ำอยู่ในวังวนของปัญหาเดิมๆ เฉกเช่นที่เป็นมา

Article Details

How to Cite
แซ่เจี่ย ธ. (2016). รัฐประหาร พ.ศ. 2549 กับแนวคิดประชาธิปไตยในกวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า. วรรณวิทัศน์, 12, 28–42. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2012.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานผลิตเอกสาร. (๒๕๕๐). การรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานการพิมพ์.

กำลังใจ. (๒๑ กันยายน ๒๕๔๙). มติชน, น. ๑.

แจ้ง วัชรกมล. (๒๕๕๓). ประชาธิปไตยตั้งไข่ล้ม. ใน ครอบครัวของผม (ในสังคมสองสี) รวมวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร.

นายทิวา. (๒๕๕๑). ปรัชญาของยาย. ใน เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน รวมวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร.

ประท้วง. (๑ ตุลาคม ๒๕๔๙). มติชน, น. ๑.

ภูวดล ภูภัทรโยธิน. (๒๕๕๑). เปลวเทียนแห่งแผ่นดิน. ใน เราติดอยู่ในแนวรบเดียวแล้ว แม่มัน รวมวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๙). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๒). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

เสกสรร โรจนเมธากุล. (๒๕๕๑). วีรกรรมซึ่งไม่มีวีรชน. ใน เราติดอยู่ในแนวรบเสียแ้ว แม่มัน รวมวรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักประชาสัมพันธ์, กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมสภาผู้แทนราษฎร.

เหนือคมพยัคฆ์. (๒๕๔๘). กรุงเทพฯ: วสีครีเอชั่น.