ชื่อเพลงในบทมโหรี: ความเชื่อมโยงกับบทร้อง

Main Article Content

นาวิน วรรณเวช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชื่อเพลงที่เชื่อมโยงกับบทร้องในบทมโหรี ผลการศึกษาพบว่า ชื่อเพลงในบทมโหรีครั้งกรุงเก่าเชื่อมโยงกับบทร้องอย่างหลากหลาย ทั้งบทร้องที่อ้างชื่อเพลง บทร้องที่อธิบายชื่อเพลง และบทร้องที่มิได้อธิบายชื่อเพลงแต่เชื่อมโยงกับชื่อเพลง ความเชื่อมโยงดังกล่าวลดลงและหายไปในสมัยรัตนโกสินทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้สืบเนื่องมาจากพัฒนาการของเพลงไทยในยุครัตนโกสินทร์ซึ่งซับซ้อนและมีขนาดความยาวมากขึ้น พร้อมทั้งความเป็นแบบฉบับของวรรณกรรมลายลักษณ์อีกด้วย ความหมายของเพลงจึงเน้นที่เพลงมากขึ้น มิใช่อยู่ที่บทร้องหรือความเชื่อมโยงระหว่างบทร้องกับชื่อเพลงอีกต่อไป

Article Details

How to Cite
วรรณเวช น. (2016). ชื่อเพลงในบทมโหรี: ความเชื่อมโยงกับบทร้อง. วรรณวิทัศน์, 12, 43–63. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2012.3
บท
บทความประจำฉบับ

References

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (๒๕๕๔). มโหรีวิจักษณ์. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (๒๕๓๖). เที่ยวเมืองนอก. กรุงเทพฯ: เอ็ม บี เอ.

มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (๒๕๕๕). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพนางเจริญใจ สุนทรวาทิน ต.ม., ร.ด.ม. (ศ) ศิลปินแห่งชาติ ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕)

สุกัญญา สุจฉายา. (๒๕๔๓). เพลงพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). (๒๕๔๒). ประชุมบทมโหรี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. (ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช)