สายโลหิต: การสร้างสรรค์นวนิยายกับประวัติศาสตร์

Main Article Content

วรรณี พุทธเจริญทอง

บทคัดย่อ

สายโลหิต เล่มที่ 1-2 เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของโสภาค สุวรรณ ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิดก่อน-หลังของการเสียกรุงศรีอยุธยา โดยแสดงให้เห็นถึงความงดงามรุ่งเรืองและความลุ่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งผู้เขียนได้ข้อมูลบางส่วนจากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ และค้นคว้าเพิ่มเติมจากพงศาวดาร โดยกำหนดให้เป็นฉากของนวนิยายและการดำเนินเรื่องของตัวละครเอกคือดาวเรืองและหลวงไกรสรเดช ซึ่งได้ผ่านพบเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยครองเรือน โสภาคได้สอดแทรกความภาคภูมิใจในความจงรักภักดีต่อบ้านเมืองของบรรพบุรุษแต่ให้ความเศร้าสะเทือนใจที่คนไทยแตกความสามัคคีและทรยศต่อชาติบ้านเมืองของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นสาเหตุของการเสียกรุงไว้ในเรื่องราวและบทสนทนาของตัวละครทั้งหมด


บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายเรื่องสายโลหิตในแง่ของการสร้างเรื่องและกำหนดตัวละครให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ

Article Details

How to Cite
พุทธเจริญทอง ว. (2016). สายโลหิต: การสร้างสรรค์นวนิยายกับประวัติศาสตร์. วรรณวิทัศน์, 12, 64–91. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2012.4
บท
บทความประจำฉบับ

References

คำให้การของชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัดและพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (๒๕๑๕). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

คึกฤทธิ์ ปราโมทย์, ม.ร.ว. (๒๕๑๐). สังคมสมัยอยุธยา. พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุลจักษ์พงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (๒๕๐๘). เจ้าชีวิต. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

ดนัย ไชยโยธา. (๒๕๔๖). ประวัติศาสตร์ไทยยุคอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (๒๕๑๔). ไทยรบพม่า (พิมพ์ครั้งที่ ๖). พระนคร: แพร่พิทยา.

ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. (๒๕๔๙). กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง. กรุงเทพฯ: มติชน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (๒๕๒๘). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหมอบรัดเล. (๒๕๔๙). กรุงเทพฯ: โฆษิต.

ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๗). ประชุมเพลงยาว ฉบับหอพระสมุดแห่งชาติ. พระนคร: คลังวิทยา.

ศิลปากร, กรม. (๒๕๓๕). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: ไอเดียสแควส์.

ศิลปากร, กรม. (๒๕๔๒). มรดกวัฒนธรรมไทยสมัยพระนครทวารวดีศรีอยุธยา. (พ.ศ. ๑๘๙๐-๒๓๑๐). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุเนตร ชุติธรานนท์. (๒๕๔๕). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา.

โสภาค สุวรรณ. (๒๕๒๔). สายโลหิต เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

โสภาค สุวรรณ. (๒๕๔๖). สายโลหิต เล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๖). กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.