รายงานการวิจัยเรื่องกลวิธีบางประการในการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศ: วิเคราะห์จากแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐาน 8 เล่ม

Main Article Content

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง กลวิธีบางประการในการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศ: วิเคราะห์จากแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐาน 8 เล่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้สอนภาษาไทยพื้นฐานแก่ชาวต่างประเทศในด้านทักษะทางภาษาทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์กลวิธีบางประการในการสอนภาษาไทยพื้นฐานแก่ชาวต่างประเทศจากแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐานดังกล่าว


แบบเรียนภาษาไทยพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนเฉพาะระดับต้น (Beginnig Thai) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ


ผลการวิจัยพบว่า แบบเรียนภาษาไทยพื้นฐาน 5 เล่ม แยกเนื้อหาเป็น 2 ส่วน ได้แก่เนื้อหาที่ใช้สอนทักษะการฟังร่วมกับทักษะการพูด และเนื้อหาที่ใช้สอนทักษะการอ่านร่วมกับทักษะการเขียน ทั้งนี้แบบเรียนดังกล่าวมีเนื้อหาที่แสดงกลวิธีการสอนการฟัง-การพูดจากวิธีสอนแบบตรง (Direct Method) ร่วมกับวิธีสอนแบบฟังและพูด (The Audio - lingual Method) มีแบบเรียน 1 เล่มมีเนื้อหาที่แสดงกลวิธีสอนจากวิธีสอนแบบฟังและพูด (The Audio - lingual Method ร่วมกับวิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach) ในขณะที่พบว่าแบบเรียนส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่แสดงกลวิธีสอนการอ่าน-การเขียนจากวิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และแปล (The Grammar - Translation Method)


ผู้วิจัยยังพบว่า มีแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐานจำนวน 1 เล่มที่แยกเนื้อหาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ อักขรวิธีและการสนทนา แต่ในเนื้อหาส่วนการสนทนานั้นมีทักษะการอ่านและการเขียนแทรกอยู่ด้วยในลักษณะบูรณาการทักษะ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการเรียนการสอนของบทเรียนเล่มนี้แสดงให้เห็นว่า ใช้วิธีสอนแบบเน้นไวยากรณ์และแปล (The Grammar - Translation Method)


นอกจากนี้ยังมีแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐานจำนวน 2 เล่มที่มีเนื้อหาบูรณาการทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนเข้าด้วยกัน และกิจกรรมการเรียนการสอนแสดงให้เห็นว่า ใช้วิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (The Communicative Approach)

Article Details

How to Cite
เพิ่มเกษร น. (2016). รายงานการวิจัยเรื่องกลวิธีบางประการในการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศ: วิเคราะห์จากแบบเรียนภาษาไทยพื้นฐาน 8 เล่ม. วรรณวิทัศน์, 12, 113–154. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2012.6
บท
บทความประจำฉบับ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๖). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นทักษะการสื่อสารตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (พฤศจิกายน ๒๕๔๗). การสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่ชาวต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, ๔, ๒๖๘-๒๗๘.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (พฤศจิกายน ๒๕๕๒). การจัดหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, ๙, ๑๐๘-๑๒๐.

นิสา ศักดิ์เดชยนต์, ยุพา ส่งศิริ, และใจเอื้อ บูรณะสมบัติ. (๒๕๒๖). ภาษาศาสตร์สำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

พรชุลี อาชาวบำรุง. (๒๕๔๑). รายงานการวิจัยเรื่องการเรียนรู้ภาษาที่สอง: ผลการวิจัยเอกสาร. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ.

ภัทรพร หิรัญภัทร์. (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๔๘). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนภาษาที่สอง. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, ๒๔, ๘๒-๙๑.

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข. (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๔๖). แนวคิดและปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง. วารสารศิลปศาสตร์, ๓, ๑๒๓-๑๒๙.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (๒๕๓๙). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, H. Douglas. (1994). Teaching by Principles: An Interactive Approach to Language Pedagogy. New Jersey: San Francisco State University. Prentice Hall Regents.

Ellis, R. (1997). The Study of Second Language Acquistion. Oxford: Oxford University Press"

Larsen-Freeman, Diane. (2000). Teachniques and Principles in Language Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Lightbown, P.M., & N. Spada. (1999). How languages are Learned. Oxford: Oxford University Press.

Odin, T. (1989). Language Transfer: Cross-linguistic influence in language learning. Cambridge: Cambridge University Press.