อย่ารำลึกถึงเราว่าเหล่าอันธพลาล!: พื้นที่คุกกับการเมืองของการนำเสนอภาพแทนตนเองผ่านอัตชีวประวัติในบันทึกเลือดจากลาดยาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความทรงจำของประวัติศาสตร์ไทยบันทึกภาพของอันธพาลในยุค 2499 อันธพาลครองเมือง ไว้ว่าเป็นคนโง่เขลาและเกะกะระราน จนถูกคณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบคุมตัวไว้ในคุกลาดยาว เมื่อ พ.ศ. 2501-2502 สุริยัน ศักดิ์ไธสง ผู้อ้างตัวว่าเป็นอันธพาลผู้ถูกควบคุมตัวในครั้งนั้นได้เขียนนวนิยายแนวอัตชีวประวัติเรื่อง บันทึกเลือดจากลาดยาว เพื่อโต้แย้งความทรงจำดังกล่าวโดยเน้นย้ำภาพแทนตนเองในฐานะ "นักเลง" ผู้มีเกียรติและเป็นลูกผู้ชาย ต่างจาก "อันธพาล" ที่โง่เขลาและไม่มีคุณค่าต่อสังคม บทความเรื่องนี้อภิปรายการเมืองของการนำเสนอภาพแทนดังกล่าว
นอกจากการอภิปรายถึงการเมืองของภาพแทนตนเองของผู้ประพันธ์และเพื่อนแล้ว บทความเรื่องนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่าผู้เขียนใช้พื้นที่คุกลาดยาวเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องที่สนับสนุนการนำเสนอภาพตัวแทนของตนเองและเพื่อนพ้องในฐานะนักเลงให้ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ มีการนำเสนอพื้นที่ของคุกให้เป็นพื้นที่จำลองของชาติไทย การนำเสนอกำเนิดของวีรบุรุษคนคุกโดยการละเมิดกรอบของพื้นที่ และการนำเสนอพื้นที่คุกในฐานะพื้นที่แห่งการใช้อำนาจเถื่อนของรัฐ พื้นที่เหล่านี้ถูกประกอบสร้างด้วยเรื่องเล่าแนวชาตินิยม เพลงปลุกใจ และประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมือง
Article Details
References
ทักษ์ เฉลิมเตรียรณ. (๒๕๑๙). ความคิดทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และระบบพ่อขุนอุปถัมภ์. ใน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. รักเมืองไทย (ล.๑). มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
วันชนะ ทองคำเภา. (๒๕๕๔). ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (๒๕๓๗). เจ้าพ่อในทัศนะของข้าราชการฝ่ายปกครองและตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, สาขาวิชาการปกครอง.
ศรันยู, และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (๒๕๕๔). คุกลาดยาว. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕, จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/คุกลาดยาว
สุมาลี พันธุ์ยุรา. (๒๕๕๔). คณะปฏิวัติ. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕, จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/คณะปฏิวัติ
สุริยัน ศักดิ์ไธสง. (๒๕๔๒). บันทึกเลือดจากลาดยาว (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: มติชน.
สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, กลุ่มงานราชกิจจานุเบกษา. (ม.ป.ป.). ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๔๓ (กำหนดวิธีการปราบปรามและอบรมบ่มนิสัยผู้ที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลให้กลับตนเป็นพลเมืองดี) สืบค้นเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๕, จาก http://61.19.241.70/rkjnew/frontnew/lawlist2.aspx#
ฺBal, Mieke. (1997). Narratology: Introduction to the Theory of Narrative. (2 nd edition). Toronto: University of Toronto Press.
Barker, C. (2004). The Sage Dictionary of Cultural Studies. London, Thousand Oaks, New Delhi: Sage.
Bryant, Jerry. H. (2003). Born in a Mighty Bad Land: The Violent Man in African American Folklore and Fiction. Indiana: Indiana University Press.
Landow, George, P. (1988). Autobiography, Autobiographicality, and Self-Representation. The victorian web: literature, history & culture in the age of Victoria. Retrieved July 1, 2012, from http://www.victorianweb.org/genre/autobiography/2.html
Ngwenya, Thengni H. (2000). The Historical Dimension of South African Autobiography. in Alternation 7, (1), 1.
Ngwenya, Thengni H. (2004). Hegamony and Autobiography Self-representation. in Alternation 11, (1), 132-133.
Sullivan, T.O., Hartley, J., Saunders, D., Montgomery, M., & Fiske, J. (1994). Key Concepts in Communication and Culture Studies. (2nd edition). London and New York: Routledge.