ปัญหาการสะกดคำไทยของนักศึกษาชาวจีน

Main Article Content

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะปัญหาการสะกดคำไทยของนักศึกษาชาวจีน โดยนำข้อมูลการเขียนของนักศึกษาชาวจีนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจ้นทรเกษมจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ผลการวิจันพบว่าการสะกดคำผิดทั้งสิ้น 205 คำ โดยลักษณะการสะกดคำผิดที่พบว่าด้วย เรื่อง พยัญชนะ ร้อยละ 29.27, วรรณยุกต์ ร้อยละ 23.90, สระ ร้อยะละ 18.54, การใช้รูปพยัญชนะและรูปสระที่มีรูปเขียนคล้ายกัน ร้อยละ 20.49, การสะกดคำที่มีรูปการันต์ ร้อยละ 5.37 และการใช้ภาษาปากสะกด ร้อยละ 2.44 จากการวิเคราะห์พบว่าปัญหาการสะกดคำไทยผิดเกิดมาจากการออกเสียงพูดภาษาไทยที่ไม่ชัดซึ่งผู้เรียนเขียนสะกดคำไทยตามเสียงพูดของตน และการที่พยัญชนะและสระภาษาไทยบางตัวมีรูปเขียนที่มีลักษณะคล้ายกันจึงก่อให้เกิดความสับสนกับผู้เรียนอีกด้วย

Article Details

How to Cite
สร้อยกุดเรือ ท. (2016). ปัญหาการสะกดคำไทยของนักศึกษาชาวจีน. วรรณวิทัศน์, 12, 191–208. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2012.8
บท
บทความประจำฉบับ

References

จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (๒๕๔๙). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชนิกา คำพุฒ. (๒๕๔๕). การศึกษาการใช้ภาษาของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ ๔ สถาบันชนชาติยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน.

นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (พฤศจิกายน ๒๕๕๑). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วรรณวิทัศน์, ๘, ๑๔๖-๑๕๗.

ทินวัฒน์ สร้อยกุดเรือ. (๒๕๕๑). ข้อคิดเห็น: การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ. The Journal: The Journal of Faculty of Art, Mahidol University, ๔, ๑๒๙-๑๓๗.

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (๒๕๔๙). การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่่างประเทศที่เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (๒๕๔๘). ภาษาในสังคมไทย ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ ๔). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.