แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง สตรี และชีวิตใน "ทุติยะวิเศษ"

Main Article Content

สุปาณี พัดทอง

บทคัดย่อ

ทุติยะวิเศาผลงานประพันธ์ขนาดยาวอันทรงคุณค่าของ 'บุญเหลือ' จัดได้ว่าเป็นทั้งนวนิยายแนวการเมืองและแนวสตรีนิยมที่แสดงแนวคิดเกี่ยวกับการเมือง สตรี และชีวิตมนุษย์อย่างโดดเด่น ด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่เลือกสรรใช้สื่อสารแนวคิดสำคัญดังกล่าวสู่ผู้อ่านได้อย่างแยบยลและน่าสนใจยิ่งตั้งแต่ชื่อเรื่องและการเริ่มเรื่อง การดำเนินเรื่อง การเล่าเรื่อง การสร้างตัวละคร การใช้สัญลักษณ์ กระบวนการบรรณยายและพรรณนา นอกจากนี้ยังใช้กลวิธีให้ตัวละครเอกตั้งคำถามต่อเนื่องไปสู่การแสวงหาคำตอบทั้งปัญหาชีวิต สังคม การเมือง สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงทำให้เห็นแนวคิดสำคัญที่ผู้ประพันธ์มุ่งนำเสนอ ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองปรากฏชัดว่า การเมืองเป็นเรื่องของความแตกต่างทางความคิด เป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ และเป็นเรื่องของทุกคน ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับสตรี นวนิยายเรื่องนี้ได้แสดงแนวคิดเกี่ยวกับสตรีในสังคมยุคใหม่ที่มีการศึกษามีความสำคัญที่สุดของเรื่องคือแนวคิดเกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ ชีวิตเป็นมายา ชีวิตเป็นไปตามกรรมและชีวิตเป็นอนิจจัง อันเป็นสัจธรรมที่ผู้อ่านสามารถน้อมนำมาใช้ในคติและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
พัดทอง ส. (2016). แนวคิดเกี่ยวกับการเมือง สตรี และชีวิตใน "ทุติยะวิเศษ". วรรณวิทัศน์, 11, 21–45. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2011.2
บท
บทความประจำฉบับ

References

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (๒๕๔๖). นวนิยายกับการเมืองไทยก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๒๒). กรุงเทพฯ: รักอักษร.

'บุญเหลือ'. (๒๕๑๑). ทุติยะวิเศษ. พระนคร: แพร่พิทยา.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (๒๘๑๘). แนะแนวทางการศึกษาวิชาวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (๒๕๒๐). "หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย," วรรณไวทยากร. กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (๒๕๒๙). แว่นวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่านไทย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (๒๕๔๓). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (๒๕๔๕). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). กรุงเทพฯ: กองทุนอริยมรรค.

ภาควิชาภาษาตะวันออก. (๒๕๔๖). พุทธธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารคำสอน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.