สำนึกในความเป็นเรื่องแต่งในสามเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งหมายที่จะศึกษาเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทยสามเรื่อง คือ "มือที่มองไม่เห็น" ของอัญชัน "ภารกิจ" ของวรรณะ กวี และ "เหตุการณ์กรรมซ้ำเล่า" ของปราบดา หยุ่น เพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดและวิธีการนำเสนอสำนึกในความเป็นเรื่องแต่งในวรรณกรรมไทยร่วมสมัย สำนึกในความเป็นเรื่องแต่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโลกของเรื่องแต่งกับโลกความเป็นจริงภายนอกสั่นคลอน กล่าวคือ "วรรณกรรม" ในฐานะ "เรื่องแต่ง" ไม่อาจกล่าวอ้างถึงความเป็น "ภาพแทน" (respresentation) ของโลกความเป็นจริงอย่างภววิสัยได้อีกต่อไป ทั้งยังมิได้มีพันธกิจในการนำเสนอภาพแทนความจริงของโลกภายนอกอีกด้วย เรื่องสั้นทั้งสามเรื่องเตือนให้ผู้อ่านตระหนักว่าโลกภายในของวรรณกรรมเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการประกอบสร้างของผู้แต่งซึ่งก็ตกอยู่ในข้อจำกัดของกรอบ "ภาษาการประพันธ์" เช่นกัน
Article Details
How to Cite
จุลวงศ์ เ. (2016). สำนึกในความเป็นเรื่องแต่งในสามเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทย. วรรณวิทัศน์, 10, 171–193. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2010.7
บท
บทความประจำฉบับ