ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (THE EFFECT OF CONSTRUCTIVE CONTROVERSY METHOD TO ENHANCE CRITICAL THINKING ABILITY FOR GRADE 10 STUDENTS)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จำนวน 38 คน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน เป็นเวลา 15 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ t – test แบบ dependent และ สถิติ t – test แบบ one samples test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์หลังเรียน ( = 12.74 , S.D. = 1.57) สูงกว่าก่อนเรียน (
= 7.39 , S.D. = 1.42) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบพิพาทเชิงสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ หลังเรียน ( = 12.73, S.D. = 1.57) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 (
= 11.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
เจ้าของบทความมิได้คัดลอก หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใด หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าวิธีใด หรือการฟ้องร้องไม่ว่ากรณีใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ กองบรรณาธิการวารสารศึกษาศาสตร์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ให้เป็นสิทธิ์ของเจ้าของบทความที่จะดำเนินการ
References
Aubkam, S. (2009). Learning provision emphasizing critical thinking and using social issues grade level 2 students, Sacred Heart College, Chiang Mai Province (Doctoral dissertation). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]
Bickford, J. (2011b). A comparative analysis of two methods for guiding discussions surrounding controversial and unresolved topics. Eastern Educational Journal, 40(1), 33-47.
Chansawang, S. (2015). Keep an eye on the "social problems" of parallel economic growth. Retrieved on November 20, 2015, from https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634442 [in Thai]
Chareonwongsak, K. (2003). Critical thinking (6th ed.). Bangkok: Success Media. [in Thai]
Danial A. Feldman. (2002). Critical thinking (Seubsahakan, V., trans). Bangkok: Explanation. [in Thai]
Feldman, R. (1996). Understanding psychology. New York: McGraw – Hill.
Inleang, W. (2015). The comparison of self-esteem by using constructive controversy and the conventional approach of Mattayumsuksa 3 Students (Master thesis). Phitsanulok: Naresuan University. [in Thai]
Kaewananta, P. (2004). Study of critical thinking skill in sex education of grade level 3 students at Wachiravit School, Chiang Mai Province (Independent study). Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]
Daniels, Mats, & Cajander, Asa. (2010). Experiences from using constructive controversy in an open ended group project. Proceedings - Frontiers in Education Conference. S3D-1. 10.1109/FIE.2010.5673418.
Ministry of Education. (2008). Indicators social studies, religion and culture the basic education core curriculum 2008. Bangkok: Printing agricultural cooperative federation of Thailand. [in Thai]
Mulkum, S. (2004). Critical thinking instructional strategies. Bangkok: Picture Prints. [in Thai]
Sariwat, L. (2006). Thinking. Bangkok: Odeon Store. [in Thai]
Sutthirat, C. (2015). 80 innovative learning-oriented learning management (6th ed.). Nonthaburi: P Balance Design & Printing. [in Thai]
Yasukham, T., & Supasorn, S. (2012). Enhancement of learning achievement and critical thinking skills science by using inquiry learning activities of chemical reaction rate. Journal of Education Naresuan University, 14(2), 23-33. [in Thai]