การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน

Main Article Content

พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ (ประจักษ์)
บรรจง โสดาดี
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์
วาสนา แก้วหล้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการสำนักปฏิบัติธรรม รูปแบบของเหตุผล และคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อ ศรัทธาของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นข้อมูลเอกสาร วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ตามรูปแบบเหตุผล และสรุปผลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล หลัง พุทธกาลได้พัฒนาไปสู่รูปแบบวิปัสสนาธุระกับคันถธุระ ในประเทศไทยสมัยสุโขทัย คณะสงฆ์ฝุายอรัญวาสีเน้น วิปัสสนาธุระ ฝุายคามวาสีเน้นคันถธุระ สมัยรัตนโกสินทร์หลวงปูุมั่น ภูริทตฺโต และหลวงพ่อชา สุภทฺโท พระสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ฝึกฝนตนเองพร้อมอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ในรูปแบบจาริกธุดงค์ บำเพ็ญภาวนาตาม ป่าเขา ทำให้เกิดต้นแบบวัดป่า จัดสำนักเป็นรัมณียสถาน เน้นความกลมกลืนกับธรรมชาติ ยึดระเบียบแบบ แผนปฏิบัติที่เรียบง่าย เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มุ่งบรรลุธรรม มีมาตรฐานสูง จนได้รับความเชื่อถือโดยทั่วไปทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ แนวคิดด้านการสอนของพระพุทธศาสนา วัดได้พัฒนาเป็นสถาบันทางการศึกษา มี พระพุทธเจ้าและสาวกสงฆ์เป็นครู ทำหน้าที่ฝึกฝนอบรมตามหลักไตรสิกขา แนวคิดด้านพุทธตรรกศาสตร์ มีการ ใช้เหตุผล 3 ประการ คือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา เพื่อประกาศเผยแผ่และปกป้อง พระพุทธศาสนา ภายหลังตรรกศาสตร์พุทธได้รับการพัฒนาการอย่างเป็นระบบคู่ขนานกับการปฏิบัติธรรม ส่วน รูปแบบการใช้เหตุผลในการสอนธรรมของหลวงปูุมั่น ภูริทตฺโต และหลวงพ่อชา สุภทฺโท จัดได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ นิรนัย อุปนัย เปรียบเทียบ โยนิโสมนสิการ และปฏิบัติภาวนาเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือก่อเกิดคุณค่า 5 ประการ ได้แก่ คุณค่าทางปัญญา จิตใจ ปฏิบัติ เศรษฐกิจ และสังคม คือ มีทัศนคติที่ถูกต้อง เกิดความรู้ความเข้าใจต่อโลกและชีวิต ฉลาดรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีความอิสระหลุดพ้น ปล่อยวาง จิตมั่นคง เข้มแข็งอดทน สะอาดบริสุทธิ์ สงบร่มเย็น มีความสุขในการใช้ชีวิต จัดการความเป็นอยู่ทาง กายภาพขั้นพื้นฐานเป็นระเบียบและปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้อง การผลิตและบริโภคไม่ก่อความเดือดร๎อนต่อ ตนเองและผู้อื่น มีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่งได้ด้วยดี มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลและเป็นส่วน ร่วมที่สร้างสรรค์สังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555).พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ผลิธัมม์
_________. (2554).พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์, (พิมพ์ครั้งที่ 17). (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา ของธรรมสภา
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2556). สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส กับการปฏิรูป การศึกษาพระพุทธศาสนา, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท). (2555). กิ่งก้านแห่งโพธิญาณ. ชลบุรี. วัดป่าอัมพวัน.
_________. (2544). อุปลมณี. (พิมพ์ครั้งที่ 5); กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ธรรมสภา
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 2); กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน. (2552). ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ. (พิมพ์ครั้งที่ 5); กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด
พระราชธรรมเจติยาจารย์(หลวงพํอวิริยังค์ สิรินฺธโร).(2541). ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต(ฉบับสมบูรณ์)และใต้ สำนึก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชนจำกัด.
มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต.(2545). บูรพาจารย์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ๎นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ลักษณา จีระจันทร์, (2550). ตามรอยพระพุทธเจ้า. (พิมพ์ครั้งที่ 7); กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พลับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน)
สวิง บุญเจิม, (2554). ตำรามรดกอีสาน, อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์มรดกอีสาน..
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว”ชาวอีสานมาจาไหน, กรุงเทพมหานคร:บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน).