ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกกลางคันของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

มาติกา โภชฌงค์
ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร

บทคัดย่อ

ปัญหาการลาออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษาถือว่าเป็นความสูญเสียโอกาสทางการศึกษาที่นำไปสู่การขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้และทักษะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกกลางคันของนักเรียน ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสถานศึกษา และปัจจัยทางด้านสังคมการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออกกลางคันของนักเรียน ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรี อยุธยา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ลาออกกลางคัน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 172 คน ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 62 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (85%) มีอายุเฉลี่ย 16.9 ปี เรียนแผนกบัญชี (45%) ในภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกกลางคันมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสังคม (28.3%) รองลงไปได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคล (ด้านแรงจูงใจ) และปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ (26.7% และ 25% ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกกลางคันของนักเรียนอันดับสุดท้าย ผลการวิจัยนำไปสู่การตัดสินใจในเชิงนโยบายและการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการวางแผนในการบริหารงาน ป้องกัน แก้ไขปัญหา และลดจำนวนนักเรียนที่ตัดสินใจลาออกกลางคัน ของทั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยาเองและสถาบันทางการศึกษาอื่นๆ ได้ และ ผู้ปกครองสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ในการดูแลบุตรหลานเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการลาออกกลางคันของนักเรียนได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการท่องเที่ยว.(2561). ระบบฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว. (ออนไลน์). แหล่งที่มาhttp://61.19.236.136:8090/dotr/statistic. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2561.
คณะกรรมาธิการการศึกษาวุฒิสภา. (2555). รายงานเรื่องการอาชีวศึกษา ปัญหาที่ท้าทายของประเทศไทย.
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).ด้านการศึกษาใ วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 391-393.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). วิกฤติ! แรงงานขาดแคลน ทำไมเด็กเรียนอาชีวะน้อยลง?. (ออนไลน์). https://www.thairath.co.th, 22 ธันวาคม 2561.
ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). Organizational behavior (OB). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.
ธีรวี ทองเจือและ ปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: มิติ
บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน). (2561). ข้อมูลพื้นฐานสวนอุตสาหกรรมโรจนะ. (ออนไลน์). http://www.rojana.com, 19 กันยายน 2561.
ปริญญา มีสุข. (2559). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกกลางคันของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตภาคกลาง 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 72-83.
มติชนรายวัน. (2559). อึ้ง!! 3 ปี ปวช.แห่ออกกลางคันกว่า 2.1 แสนคน สอศ.เตรียมดึง 6 หมื่น นักเรียนจบ ม.3 ไม่ต่อ ม.4 เรียนอาชีพแทน. (ออนไลน์). https://www.matichon.co.th/education/ news_123576, 19 กันยายน 2561.
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมใจ เพียรประสิทธิ์ และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2554). ความคิดเห็นในการออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร, 5(2), 20-32.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). การออกกลางคันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). สถิติข้อมูลการศึกษา ปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน. (ออนไลน์). แหล่งที่มาhttp://www.vec.go.th/th-th/หน้าแรก.aspx. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561.
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558). “สาเหตุการลาออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 1(1), 67-79.
อภิชาติ เลนะนันท์, คุณวุฒิ คนฉลาด, และเสรี ชัดแช้ม. (2555). โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 74-86.
Cornell, D., Gregory, A., Huang, F., & Fan, X. (2556). Perceived prevalence of teasing and bullying predicts high school dropout rates. Journal of Educational Psychology, 105(1), 138-149.
Pittman, R. (1991). Social Factors, Enrollment in Vocational/Technical Courses, and High School Dropout Rates. The Journal of Educational Research, 84(5), 288-295.
Hang, B. T., Kaur, A., & Nur, A. H. B. (2017). A Self-Determination Theory Based Motivational Model on Intentions to Drop Out of Vocational Schools in Vietnam. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 14(1), 1-21.