การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการทำแผนชุมชน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดทำแผนชุมชน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ในการจัดทำแผนชุมชนจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชนและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนต่างๆ จำนวน 191 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.967 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
ปัจจัยส่วนบุคคลของคณะกรรมการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 41-60 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า มีระยะเวลาที่อาศัยในชุมชน 15 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ต่ำกว่า 3 ปี
การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการทำแผนชุมชน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.82, S.D.=0.776) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดทำแผนชุมชน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ การศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยในชุมชนและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนชุมชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details
References
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2559). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา: การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธพงษ์ เฮ้าประมงค์. (2555). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2562). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร.
สำนักสนับสนุนสภาองค์กรชุมชน. (2559). การจัดทำแผนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. คู่มือการจัดทำแผนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participations Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York: World Developments.