การพัฒนากิจกรรมการทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน โดยใช้อินดิเคเตอร์จากสารสกัดจากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อใช้สำหรับการศึกษาในห้องเรียน

Main Article Content

ดุษฎีพร หิรัญ, สุรวุฒิ สุดหา

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน   โดยใช้อินดิเคเตอร์จากสารสกัดจากวัสดุในท้องถิ่น  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการทดลองทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเขว้าวิทยายน จำนวน 30 คน เครื่องมือนี้ที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แผนการเรียนรู้ เรื่อง การทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน  โดยใช้อินดิเคเตอร์จากสารสกัดจากวัสดุในท้องถิ่น  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินการจัดการเรียนและการลงมือปฏิบัติการทำกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่  t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า จากการพัฒนาการทดสอบกรด-เบส จากสารสกัดพืชและวัสดุในท้องถิ่น พบว่าสารสกัดที่เหมาะสมการนำมาใช้ในการทดสอบ ได้แก่ ดอกอัญชัน ดอกกะหล่ำปลีม่วง ดอกกล้วยไม้ และดอกกุหลาบ  และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องความเข้าใจของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความเป็นกรดเบสในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้นักเรียนยังมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติในท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมในการจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2551) . หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร.

ชญานาถ ซ้อนพิมาย.(2550). การพัฒนากิจกรรมการทดลอง เรื่อง การทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารเคมีในชีวิตประจำวัน โดยใช้อินดิเคเตอร์ในท้องถิ่น. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มยุรฉัตร ชาวเลย. (2559). กิจกรรมการเรียนรู้โดยการลงมือทำชุดทดลองยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบกระดาษจากสารสกัดของพืช สำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาเคมี เรื่องกรด-เบส.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

มยุรฉัตร ชาวเลยและเสนอ ชัยรัมย์.(2563). การสร้างอินดิเคเตอร์แบบกระดาษอย่างง่ายเพื่อใช้ในการเรียนรู้เรื่อง กรด-เบส. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, ปีที่ 3 เล่ม1 (ม.ค.-มิ.ย.2563) สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/download/240051

พัลยมน เย็นสมุทร. (2557). การพัฒนาความเข้าใจเชิงมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส โดยใช้กิจกรรมการทำนาย-สังเกต-อธิบาย บนพื้นฐานแนวการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ธนิกานต์ สุขอร่าม. (2560). การใช้สีจากธรรมชาติแทนสารเคมีสําหรับผลิตสื่อการเรียน การสอนและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ. มหาวิทยาลัยศิลปากร สืบค้นจากhttp://ithesisir.su.ac.th/dspace/ bitstream/123456789/2347/1/59301202.pdf

ศธิธร ปรือทองและคณะ. (2553) การพัฒนาคุณภาพสารสกัดสีธรรมชาติเพื่อใช้เป็นอินดิเคเตอร์ กรด-เบส.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.พิษณุโลก

ศุภาพิชญ์ กุลธิ.(2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง กรด-เบส โดยใช้ปฏิบัติการแบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สนทรรสน์ มนัส. (2555). การศึกษาผลสัมฤธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทีไฟว์กระดาษ เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อุไรวรรณ ภัยชิต และรุ่งนภา ทิพากรฐิติกุล. (2554). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง โมเมนตัมและการชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ. 3(พิเศษ): 88-94, มีนาคม-พฤษภาคม, 2554.

Allen ruby. Hand-on Science and Student Achievement. New York: Teachers College; Columbia University, 1995.

Devid, L. Haury and Peter Rillero. Teaching science through inquiry. London: The Falmer Preess, 1994.

Tipchai, A., Meewong, C., Wuttisela, K. and Supasorn, S. (2019). Grade-10 students’ conceptual understanding of covalent bonding and molecular shapes from inquiry learning by using physical models (in Thai). Journal of Science and Science Education, 2(1), 43-56.

Rutherford, F.J. Hand-on: A means to an end 2061 Today. Science and Children. 1993

Smit, Patty anf Templetom (1994 ). Instruction Method Effect on Student Attitude and Achievement. Dissertation abstracts international.