แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจากประเทศอาเซียนในเขตภาคใต้ตอนบน

ผู้แต่ง

  • ปิยวรรณ แสงสุขขา วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม, ภาคใต้ตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและทิศทางของการส่งเสริมการท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยว ปัจจัยทางการตลาดการท่องเที่ยว และการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมจากประเทศอาเซียนในเขตภาคใต้ตอนบน เป็นการศึกษาที่ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐได้สนับสนุนเพื่อจัดทำแผนงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มมุสลิม พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมนั้นจะชื่นชอบการซื้อสินค้า ชอบการรับประทานทานอาหารไทยที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ได้รับเครื่องหมายฮาลาล ท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ชอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ชมธรรมชาติ กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ด้านผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต้องมีการบริการอาหารฮาลาล มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและมีชื่อเสียง มีความสะดวกขนส่งคมนาคม มีสถานที่ประกอบศาสนกิจ มีพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฮาลาลและมีปลอดภัยในการท่องเที่ยว ด้านราคา คือ ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ เน้นการดำเนินงานร่วมกับบริษัทนำเที่ยว (Agency tour company) ด้านการส่งเสริมการตลาด คือส่งเสริมโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ (Website) เฟซบุ๊ก (Facebook) วีแชท (WeChat) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ โบรชัวร์ ด้านบุคคลต้องมีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ด้านนำเสนอลักษณะทางกายภาพ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระบวนการการให้บริการ กลยุทธ์ที่นำเสนอต้องแสดงให้เห็นว่า การมาท่องเที่ยวประเทศไทยนั้นมีความสะดวกสบายและมีการท่องเที่ยวแบบฮาลาลให้นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาชูพื้นที่นำร่องสุดยอดเส้นทางการท่องเที่ยว กลุ่มมุสลิม "วิถีอันดามัน" เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/News-view.php?nid=12236

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 3. สืบค้นจาก http://www.mots.go.th.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). แนวทางฟื้นฟู 'การท่องเที่ยว' หลังวิกฤติโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885171.

กาญจนา อายุวัฒน์ธนชัย. (2561). ทริปฮาลาล โอกาสทองธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/551948.

ทักษิณา แสนเย็น, ธนะพัฒน์ ศิริจารุอนันต, อาภาภรณ์ หาโส๊ะ และสุชาติ ค้าทางชล. (2561). แนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรด้วยวิถีมุสลิม. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(1), 286-297.

ธนินทร์ สังขดวง และจิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 13(1), 135-168.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ปิยาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง, ศรัณยา นาคแก้ว, นันท์ธิดา ศิริกุล และศรายุธ ทองหมัน. (2563). การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 1-19.

มัทนี คำสำราญ และณัฐนุช วณิชย์กุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของชาวมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 6(12), 79-91.

วรางคณา ตันฑสันติสกุล และเมธาวี ว่องกิจ. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาโรงแรมฮาลาล กรณีศึกษา จังหวัดกระบี่. วารสารราชพฤกษ์, 17(3), 122-128.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สถาบันวิจัยและนวัตกรรม. (2560). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้สู่การปฏิบัติ. สืบค้นจาก https://iri.wu.ac.th/wp-content/uploads/2017/09/ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้-ย่อ.pdf/

อรุณ บิลหลี และธัญวรัตน์ นนอนันต์. (2563). บทบัญญัติศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม. การประชุมวิชาการระดับชาติ เทคโนโลยีภาคใต้วิจัย ครั้งที่ 10 Humanity Empowerment Through Social Innovation : การสร้างความเข้มแข็งให้กับมนุษยชาติโดยนวัตกรรมสังคม” (น. Fo34-41). นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

Battour, M., Ismail, MN., Battor, M. & Awais, M. (2017). Islamic tourism: An empirical examination of travel motivation and satisfaction in Malaysia. Current Issues in Tourism, 20, 50-67.

Brandbuffet. (2019). เปิดผลสำรวจ “นักเดินทางหญิงชาวมุสลิม” จัดทริปท่องโลกมากขึ้น ไทยติดอันดับ 2 เป้าหมายที่น่าเดินทาง. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/11/muslim-traveller-growth-tbwa/.

Creswell, J. (1998). Qualitative Inquiring and Research Design: Choosing among Five Traditions. Thousand Oak, CA: Sage.

EHL insights. (2020). How Halal Tourism is Reshaping the Global Tourism Industry. สืบค้นจาก https://hospitalityinsights.ehl.edu/halal-tourism-global-industry

RTY9. (2561). ทิศทางการพัฒนาภาคใต้และภาคใต้ชายแดน ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/cabt/2747493.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26