ปัจจัยทำนายความตั้งใจป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของผู้ป่วย ในคลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นิรุติ ผึ่งผล หลักสูตรการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วราภรณ์ รัตนพาหิระ หลักสูตรการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สุพรรษา สุขสมทรง หลักสูตรการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ชลบุษ ทับทิมทอง หลักสูตรการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

โรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง, เจตคติ, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, การรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง, ความตั้งใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเองกับความตั้งใจป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ตลอดทั้งสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายความตั้งใจป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างในคลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เจตคติ (r = .56) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (r = .45) และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง (r = .87) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (< .01) สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของผู้ป่วยในคลินิกแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 78.40 (p < .01) ดังนั้นแพทย์แผนไทยควรนำไปใช้ส่งเสริมการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของผู้ป่วยและใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาสมรรถนะการป้องกันโรคปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างของบุคลากรแพทย์แผนไทยต่อไป 

References

กิตติ ลี้สยาม. (2555). ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางเวชกรรมไทย. ใน คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา

เวชกรรมแผนไทย 1 (บรรณาธิการ). เอกสารการสอนชุดวิชาเวชกรรมแผนไทย 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). รายงานข้อมูล 43 แฟ้มมาตรฐาน. สืบค้นจาก http://203.157.10.11/report/std18report/rep_P003_thailand.php?year=25572.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สรุปรายงานการป่วย

พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

เขมิกา ปาหา และสุนิดา ปรีชาวงษ์. (2557). เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมกับความตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ของข้าราชการตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(1), 157-169.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย. (2555). หัตถเวชกรรมแผนไทย

(นวดแบบราชสำนัก). กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. (2561). สถิติผู้มารับบริการรักษาโรคในคลินิกแพทย์แผนไทย ประจำปี 2560. ชลบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี.

สิทธิศักดิ์ เครือพิมาย และรัตน์ศิริ ทาโต. (2559). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชาย. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 102-117.

สุภาพันธ์ จันทร์ศิริ, วรรณา พาหุวัฒนกร และฉวีวรรณ อยู่สำราญ. (2017). อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. Journal of Nursing Science, 35(4), 49-60.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

สำนักงานสถิติ จังหวัดชลบุรี. (2561). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี 2060. สืบค้นจาก http://chonburi.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=268:21-12-60&catid=102&Itemid=507

สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี. (2560). รายงานข้อมูล 43 แฟ้มมาตรฐาน. ชลบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี.

อมรรัตน์ ธานีรัตน์, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, และนิยา สออารีย์. (2551). ความปวดและการจัดการความปวดของผู้ป่วยที่มีความปวดเรื้อรังจากความผิดปกติในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(1), 25-36.

Ajzen, I. (2012). The theory of planned behavior. In: Lange PAM, Kruglanski AW, Higgins ET, editors. Handbook of theories of social psychology. London: Sage.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bair, M. J. (2008). Association of depression and anxiety alone and in combination with chronic musculoskeletal pain in primary care patients. Psychosomatic Medicine, 70(8), 890-897.

Brage, S., Sandanger, I., & Nygard, J. F. (2007). Emotional distress as a predictor for low back disability. SPINE, 32(2), 269-274.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Kinkade, S. (2007). Evaluation and treatment of acute low back pain. American Family Physician, 75(8), 1181-1188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26