แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายสำหรับสาวออฟฟิศในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เจษฎา อธิพงศ์วณิช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ผลิตภัณฑ์, เครื่องแต่งกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ปัญหา อุปสรรคของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศรวมไปถึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้หญิงไทยอายุ 23 ปีขึ้นไป ที่ทำงานในบริษัทที่ไม่มีชุดแบบฟอร์มขององค์กรใส่และเคยซื้อเสื้อผ้าสตรี ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 400 ราย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่อายุ 23 - 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เดือนละ 15,001 - 30,000 บาท และมีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสตรีอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า อายุและรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศแตกต่างกัน การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าสตรีที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศในประเทศไทย พบว่า เสื้อผ้าสตรีต้องวางขายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น สินค้ามีโปรโมชั่น และสาวออฟฟิศชอบเสื้อผ้าที่แสดงความเป็นไทย เช่น ผ้าฝ้าย ลายไทย เป็นต้น โดยสมการสามารถทำนายปัจจัยที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีสำหรับสาวออฟฟิศในประเทศไทยได้ร้อยละ 20.50 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย คือ ผู้ขายเสื้อผ้าออนไลน์ต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพสินค้าและการบริการ และสร้างตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย 

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ผลโพล หญิงไทยยุค 4.0. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/columns/news-202178

งานฝีมือ เย็บปักถักร้อย Handicraft Blog. (2556). ความแตกต่างในการผลิตเสื้อผ้า. สืบค้นจาก http://mblog.manager.co.th/handicraft/

ชีวรรณ เจริญสุข. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้นจาก https://MAYMAYNY.WORDPRESS.COM

ชนกนาถ มะยูโซ๊ะ, มิยอง ซอ และเกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง. (2561). การสร้างสรรค์อาภรณ์สำหรับผู้พิการทางสายตา เพื่อตอบสนองต่อกาลเทศะและประโยชน์ใช้สอย.วารสารศิลป์ปริทัศน์, 6(2), 1-15.

ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊คและอินสตาแกรม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2553). ระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล, ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน และสุภาภรณ์ ศรีดี. (2562). ศึกษาเรื่องกลยุทธ์การแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ขายสินค้าแฟชั่นกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. Siam Communication Review, 18(24), 117-129.

สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). บทบาทสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ac/download/article/article20180517155757.pdf

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Matin, A. K. (2007). Consumer Behaviour. New Age International.

Noorul, H. Z., & Kamal, A., Sharif, M. S., & Zulkifli, B. Y. (2014). Weighting Methods and their Effects on Multi-Criteria Decision Making Model Outcomes in Water Resources Management. Springer: Malaysia.

Ray, W. (2006). Consumer Behaviour. Italy: Cengage Learning EMEA.

Susan, D., & Rachel, A. A. (2016). Big Picture Bioethics: Developing democratic policy in contested domains. SpringeR: Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26