การเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของแรงงานนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
แรงงานนอกระบบ, การเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณอายุของแรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้ทางการเงินเพื่อการวางแผนเกษียณอายุของแรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการศึกษาพบว่าแรงงานนอกระบบ มากกว่าร้อยละ 80 ไม่เคยวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายประจำวัน และมีพฤติกรรมในการออมเงินเมื่อมีเงินเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายเท่านั้น สำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีการเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ ส่วนใหญ่มีรูปแบบการออมและการลงทุนเป็นเงินฝากประจำแบบออมทรัพย์ ในกรณีที่แรงงานนอกระบบขาดรายได้หรือตกงานจะสามารถดำรงชีพจากเงินออมได้ไม่เกิน 1 เดือน และมีความรู้ทางการเงินเพื่อการวางแผนเกษียณอายุอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านความรู้ทางการเงินเพื่อการวางแผนเกษียณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นเพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณได้ รัฐควรสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ทางการเงินเพิ่มขึ้น และส่งเสริมให้มีการวางแผนทางการเงินอย่างเร่งด่วน
References
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ. (2558). รูปแบบการออมเพื่อเกษียณอายุในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.gpf.or.th/thai2013/index.asp
ชลธิชา มูลละ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมและพฤติกรรม การออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
ญาดา วัลยานนท์ และศนินันท์ สุวรรณหงษ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทาง การเงินเพื่อเตรียมการเกษียณอายุของข้าราชการและลูกจ้างสังกัดสำนักงานเขตบางซื่อ. (จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณภัชศา ธาราชีวิน และธงชัย ศรีวรรธนะ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวางแผนเกษียณ. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_5.pdf
ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์. (2552). รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ: กรณีศึกษา ข้าราชการครูสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.
ธาดา วิมลฉัตรเวที. (2543). การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของ บุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: กรุงเทพฯ.
นพแสน พรหมอินทร์. (2554). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการดำรงชีพยามชราภาพของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรลูกค้าธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ:ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์ และ วีระชาติ กิเลนทอง. (2557). การเตรียมความพร้อมสาหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานในระบบ. สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นค้นจาก https://www.set.or.th/setresearch/files/microstructure/forum20140929_1.pdf
ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการงานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรมบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525. (2542). กรุงเทพมหานคร.ราชบัณฑิตยสถาน.
พัชราภา มนูญภัทราชัย. (2544). การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของ ประชากรในชุมชนขนาดใหญ่พื้นที่เขตบางซื่อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ภัทราพร ยอดจันทร์. (2557). พฤติกรรมการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณของประชาชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).
มุกดา โควหกุล. (2559). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์์, 12(1), 128-149.
รัชนี ฝนทองมงคล. (2538). การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุภายหลังเกษียณอายุราชการ : ศึกษาจากข้าราชการบำนาญ สังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ราตรี เจียมจารุภา. (2542). การศึกษาความต้องการการเตรียมตัวก่อนการเกษียณของข้าราชการก่อนเกษียณ สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรุงเทพฯ.
วิศกรณ์ คีรีวรรณ. (2558). การวัดระดับทักษะทางการเงินกับการมีส่วนร่วมในตลาดทุน. สถาบันวิจัย เพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
วิจิตร บุญยะโหตระ. (2537). คู่มือเกษียณอายุ. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จํากัด
วีระชาติ กิเลนทอง, บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์, ลลิตา จันทรวงศ์ไพศาล และ อาชว์ ปวีณวัฒน (2555). การเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงาน ในระบบช่วงอายุ 40 - 60 ปี (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย, มนวิกา ผดุงสิทธิ์ และนภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). โปรแกรมคำนวณเงินออม. สืบค้นจาก https://www.1213.or.th/th/tools/programs/Pages/savings.aspx.
ศูนย์ให้ความคุ้มครองทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). บทบาทหน้าที่ส่งเสริมความรู้ดูแลเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงิน. สืบค้นจาก: https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/knownfcc/Pages/knownfcc.aspx
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2553). หลักสูตรวางแผนการเงิน:ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนสำหรับวัยเกษียณ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2553). หลักสูตรวางแผนการเงิน: ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555). การประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงแรงงาน.
สาธิต บวรสันติสุทธิ์. (2558). บทความคนไทยเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณกันหรือยัง. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สาธิต บวรสันติสุทธิ์. (2558). เคล็ดลับการบริหารเงิน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพป์ารชญ์.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2559). วางแผนเกษียณ สู่อิสรภาพทางการเงิน. สืบค้นจาก http://www.จัดการเงินเป็น.com/retirement/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2550). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search_center/23project-th.htm
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จํากัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานผลเบื้องต้น การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย
พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจข้อมูลประชากร. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สุดใจ น้ำผุด. (2545). กลยุทธ์การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สรา ชื่นโชคสันต์ และคณะ. (2562). หนี้ครัวเรือนไทย: ข้อเท็จจริงที่ได้จาก BOT-Nielsen Household Financial Survey. Focused and Quick, 143.
ศรีเพ็ญ ทรัพย์มนชัย, มนวิกา ผดุงสิทธิ์ และนภดล ร่มโพธิ์. (2555). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
อรุณี นุสิทธิ์. (2557). ปัจจัยอธิบายความเพียงพอจากการออมเพื่อการเตรียมเกษียณของผู้มีงานทำในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(144), 39-52.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Kim, Jae-On, & Mueller, Charles W. (1978). Factor analysis: Statistical methods and practical issues. Beverly Hills, CA: Sage.
Lusardi, Annamaria & Olivia S. Mitchell. (2006). Financial Literacy and Planning: Implications for Retirement Wellbeing. MRRC Working Paper n. 2006-144.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ