ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชี ของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การควบคุมภายใน, การเงินและบัญชี, สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงในประเทศไทย จำนวน 282 คน ใน 141 สหกรณ์ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และใช้การวิเคราะห์สถิติการถดถอยเชิงพหุคูณทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัย พบว่า สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงส่วนใหญ่มีขนาดกลางถึงขนาดเล็ก โดยปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสหกรณ์ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคคล 2) ด้านเอกสาร และ 3) ด้านโครงสร้างสหกรณ์ ล้วนส่งผลในเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ตามวัตถุประสงค์ของ COSO 2013 ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน 2) ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงาน และ 3) ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมของสหกรณ์ด้านกฎระเบียบและข้อบังคับ และขนาดของสหกรณ์ ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามวัตถุประสงค์ของ COSO 2013
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2562). รายงานการจัดชั้นคุณภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรปี2562. สืบค้นจาก https://bit.ly/2SbFIIU
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2551). คู่มือระบบบัญชีสหกรณ์โครงการบ้านมั่นคง. สืบค้นจาก https://www.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=30274
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2564). ทะเบียนสหกรณ์รายเดือน. สืบค้นจาก http://office.cpd.go.th/itc/index.php/infocpd/info-coop/report-coop-monthly
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2563). แนวทางการยกระดับชั้นคุณภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์. สืบค้นจาก http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_6408073134.pdf
กัญญาภัค ประสมศรี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO : กรณีศึกษากลุ่มการคลัง สำนักงานศาลยุติธรรม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
กัลณี ด่านทองหลาง (2560). ผลกระทบของระบบการควบคุมภายในต่อผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).
จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2554). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. กรุงเทพมหานคร.
จีระศักดิ์ อุราสาย. (2559). เกณฑ์การจัดขนาดสหกรณ์. สืบค้นจาก https://www.cad.go.th/ewt_news.php?nid=12826&filename=01
พัชรกันย์ ทัศคร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมภายในของบริษัทประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
รัตติยา สวัสดี. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบบัญชีสหกรณ์เคหสถาน/บ้านมั่นคง. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 2(5), 34-53.
สลักจิต นิลผาย. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยจากมุมมองของผู้บริหาร. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(3), 38-49.
อัจฉริยา อิ่มรส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชี: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. สืบค้นจาก http://anesthai.org/public/rcat/Documents/journal/152 2139804-07-Araya.pdf
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). New York: Harper and Row Publications.
Tu Chuc Anh et al. (2020). Factors influencing the effectiveness of internal control in cement manufacturing companies. Quarterly Publication, 10(1), 133-142.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ