การกำหนดประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดเพื่อสนับสนุนความสำเร็จของยุทธศาสตร์ชาติ: กรณีศึกษา จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ระบบสาธารณสุข, ระบบสาธารณูปโภค, การเกษตรแบบยั่งยืน, ยุทธศาสตร์, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัดตาก และต้องการหาประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัดเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของยุทธศาสตร์ในระดับชาติ การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลจริง จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำชุมชน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในด้านการวางแผนและนักยุทธศาสตร์ ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก จำนวนทั้งสิ้น 120 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบสโนบอล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบว่า จังหวัดตากนั้นมีจุดแข็งเกี่ยวกับการมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม มีพื้นที่ติดต่อชายแดนไทยพม่า มีประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ที่ยาวนาน และมีพื้นที่มากเป็นอันดับสี่ของประเทศ ในขณะที่มีจุดอ่อนเกี่ยวกับประเด็นด้านประชาชนรายได้ต่ำ พื้นที่สภาพอากาศมีความแห้งแล้ง ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ครอบคลุม และอัตราการสร้างงานในเขตพื้นที่ต่ำ นอกจากนี้ด้านโอกาสมีประเด็นเกี่ยวกับ เป็นเมืองทางผ่านมีเขตติดต่อ 9 จังหวัด เป็นเมืองแหล่งเศรษฐกิจชายแดน เขตการค้าเสรีมากขึ้น และชาวต่างชาตินิยมมาเที่ยว สุดท้าย ด้านอุปสรรคมีประเด็นเกี่ยวกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่ำ สภาวะความมั่นคงทางการเมืองของประเทศต่ำ และปัญหาโรคระบาด นอกจากนี้ ผลการกำหนดประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ พบว่า ประเด็นเชิงยุทธศาสตร์หลัก ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 10 ประเด็น ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้จังหวัดตากเป็นเมืองการท่องเที่ยว 2) ส่งเสริมการค้าระหว่างชายแดนไทยพม่า 3) ส่งเสริมพื้นที่การเกษตรให้ทั่วถึง 4) ส่งเสริมให้เกิดการทำอาชีพให้กับชุมชน 5) ส่งเสริมวางระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบประปาหมู่บ้าน และคมนาคม 6) เสริมสร้างเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าประจำจังหวัด 7) ส่งเสริมระบบสาธารณสุขท้องถิ่นให้เข้มแข็ง 8) ส่งเสริมที่ดินเกษตรกรรมเพื่อชุมชน 9) พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน และลำดับสุดท้ายคือ 10) ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์เป็นประมุข

References

คณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกิจและสงัคมแห่งชาติ. (2550). จะแก้ไขปัญหาความ ยากจนกันอย่างไร: แข่งขันแจกจ่ายหรือสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา. (2545). คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน. ม.ป.พ.

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2018). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร? เข้าใจกันแบบย่อ.สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/4570

จักรกฤษณ์ นรติผดุงการ. (2523). แนวความคิดใหม่ในการพัฒนาชนบทการวางแผนพัฒนาจังหวัด อำเภอ ตำบล: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สารมวลชน.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). คนจนกับนโยบายทำให้จนของรัฐ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ประเวศ วะสี. (2542). เพื่อคนจน: ถอนโครงสร้างความยากจน. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2517). ปัญหาเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

วนรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2548). นโยบายประชาสินบนกับการแก้ปัญหาความยากจนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/300878.

วิทยากร เชียงกลู. (2547). พัฒนาการแบบยั่งยืนกับการแก้ปัญหาคนจน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ศุภเจตน ์จนัทร์สาส์น. (2551). เศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตประจำวัน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี. (2018). ยุทธศาสตร์ชาติ ทำไปเพื่ออะไร?. สืบค้นจาก https://pmdu.soc.go.th/what-is-national-strategy/3184

Chandarasorn, Voradej. (2014). Public Policy Identification. Bangkok: Shinawatra University.

David, FR. (2001). Strategic Management (8th ed.). Prentice-Hall: New Jersey.

Dhiravegin, Likhit. (2014). An Integrated Theory of Public Policy Implementation (6th ed.). Bangkok: Prikwaan Graphic.

Hill, CWL. & Jones, GR. (1998). Strategic Management: An Integrated Approach. Massachusetts: Houghton Mifflin College.

Lawrence, R. J. & William, F.G. (1988). Business Policy and Strategic Management (5th ed.). New York: McGraw-Hill College.

Miller, A. & Dess, GG. (1996). Strategic Management. New York: McGraw-Hill.

Naveekarn, Somyos. (2000). Business Administration and Organization Behavior (2nd ed). Bangkok: Manager Publishing.

Phagaphasvivat, Somjai. (2010). Strategic Management. Bangkok: Amarin Printing & Publishing.

Wheelen, T. L. & Hunger, D. (2002). Essentials of Strategic Management (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30