การตัดสินใจเลือกอ่านดิจิทัลแมกกาซีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ ไวยคงคา คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, ดิจิทัลแมกกาซีน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการอ่านนิตยสารดิจิทัลแมกกาซีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครชั้นปีที่ 1 - 4 ทำการสุ่มตัวอย่างแบบจับสลากจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิจัย คือ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสำหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียว และนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการอ่านดิจิทัลแมกกาซีนมาแล้วน้อยกว่า 1 เดือน ใช้สมาร์ทโฟนในการอ่าน โดยอ่านในช่วงเวลา 22.01 - 24.00 น. ซึ่งอ่านช่วงเวลาว่าง ใช้เวลาอ่านประมาณเกือบ 30 นาที อ่านในที่อยู่อาศัย โดยเลือกอ่านประเภทนิตยสาร พิจารณาจากรูปแบบกราฟฟิกจากการอ่าน เนื้อหาดิจิทัลแมกกาซีน อ่านจากคำโปรย และข้อมูลจากเว็บไซต์มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีอายุแตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจเลือกอ่านดิจิทัลแมกกาซีนด้านเทคนิคในดิจิทัล แมกกาซีนแตกต่างกัน และพบว่า นักศึกษาที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีระดับการตัดสินใจเลือกอ่านดิจิทัลแมกกาซีนด้านการออกแบบ ลักษณะรูปแบบของตัวอักษร เทคนิคในดิจิทัล และด้านปัจจัยอื่น ๆ ที่ใช้ในดิจิทัลแมกกาซีนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กษมา ศิธราชู. (2553). วิเคราะห์การใช้ภาษาและเนื้อหาในคำโปรยปกหลังหนังสือวรรณกรรมบันเทิง.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จรดปกรณ์ กีรกุลกำธร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านดิจิทัลแมกกาซีน ของสมาชิกนิตยสารในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

จุฑามาศ มโนสิทธิกุล. (2554). Magazing Design with Adobe InDesign สร้างสิ่งพิมพ์แบบฉบับ มืออาชีพ. กรุงเทพฯ : บริษัท เน็ตดีไซด์ พับลิชชิ่ง จำกัด

ชาตรี บัวคลี่. (2557). แนวคิดการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลหลังสมัยใหม่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 7(3), 247-258.

ชูศักดิ์ ศุภจิตเจษฎากร. (2554). หนังสืออิเล็คทรอนิคส์ (e-book). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/445802

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2556). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมและอัตลักษณ์ของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร.มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยุรกิจบัณฑิต.

ณ กาฬ เลาหะวิไลย. (2555). บรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และรองกรรมการผู้จัดการบริษัท โพสต์นิวส์ จำกัด. สัมภาษณ์.

ธีระภัทร์ เอกผาชัยสวัสดิ์. (2551). ประชากรศึกษา. ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์. สืบค้นจาก http://computer.pcru.ac.th/emoodledata/19/.

เบญจวรรณ อรัญเรืองฤทธิ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้อ่านในการเลือกซื้อนิตยสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปกรณ์ สุขสำราญ .(2554). บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสัมมนากลยุทธ์ นโยบายการวางแผนสื่อใหม่. สืบค้นจาก http://kornpup.blogspot.com/2011/08/e-book-e-magazine.html

พัชรินทร์ ดิษด้วง. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อนิตยสารทางเลือกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

เฟซบุ๊กกระทรวงดิจิทัลและสังคม. (2562). รวม 7 อาชีพ ที่ดับสูญ! เหตุถูกเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน. สืบค้นจาก https://www.sanook.com/money/636305/

รพีพรรณ ฉัตรกาญจนากูล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อบริการนิตยสารดิจิตอลของผู้บริโภค. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง. (2555). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/284784

ศุภณี เรียบเลิศหิรัญ. เมื่อสังคมออนไลน์มาแทนที่สังคมกระดาษ เราจะอ่านหนังสือกันแบบไหน. สืบค้นจาก https://thethaiprinter.com/thai/lifestyle_detail.asp?id=695

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน:ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร Executive Journal, 33(4), 42-54.

สาระดีดี.คอม. (2563). บทความทางวิชาการ แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้รับสาร Demographic Characteristics of Receiver. สืบค้นจาก http://www.sara-dd.com/index.php?option=com_content&view=article&id=76

อริสรา ไวยเจริญ. (2558). รูปแบบการโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

BOT พระสยาม Magazine ฉบับที่ 2/2557 (มีนาคม - เมษายน). ส่องเทรนด์ e-Magazine. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/phrasiam/Pages/Phrasiam2_2557.aspx

By admin. (2555). ดิจิตอลแมกกาซีน นี่ซิ…นิวมีเดียของจริง. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/14852

By admin. (2558). รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/

Kv Km&learning. (2555). การตัดสินใจ (Decision Making). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/496198

prasert rk. (2555). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/492000

@tuirung. (2555). ข้อควรระวัง หากต้องการสร้าง Digital Magazine. สืบค้นจาก http://thumbsup.in.th/2012/08/digital-magazine-publishing-mistake-avaoid/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30