การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหาร, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาชุมชน, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสำเร็จของการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ด้านคุณภาพชีวิต (2) ปัจจัยในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี (3) ทิศทางและแนวโน้มการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเอกสาร เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แนวทางคำถามปลายเปิดกึ่งมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้นำชุมชน จำนวน 136 ท่าน เก็บข้อมูลทุติยภูมิด้วยการค้นคว้าเอกสารและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลักมาประมวลและนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ความสำเร็จของการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ด้านคุณภาพชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผู้นำชุมชนมีความพึงพอใจในผลลัพธ์ของการดำเนินงานค่อนข้างมาก (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ในด้านคุณภาพชีวิต พบว่ามี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. ปัจจัยการบริหารจัดการด้านธุรกิจชุมชน 2. ปัจจัยการบริหารจัดการด้านสังคม 3. ปัจจัยการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนการพัฒนาชุมชนเพื่อไห้เกิดความยั่งยืนในด้านผู้นำชุมชนจะเกี่ยวข้องกับ 8 ปัจจัย ได้แก่ 1. การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ 2. มีการประสานความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และภาคประชาชน รวมทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 3. มีผู้รับช่วงในการดำเนินการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและเข้าใจถึงแนวคิดและความสำคัญของการใช้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน 4. ประชาชนและผู้นำชุมชนจะต้องมีจิตสำนึกร่วมกัน 5. ผู้นำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแผนพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 6. ผู้นำมีความเข้มแข็งหรือมีแนวคิดในการพัฒนา 7. เงินทุนในการจัดตั้งกองทุนหรือกลุ่ม และเงินทุนในการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 8. ผู้นำที่มีความซื่อสัตย์และโปร่งใสในการจัดสรรงบประมาณซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ของโครงการกระจายไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง (3) ทิศทางและแนวโน้มการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี ในการกำหนดแผนพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านคุณภาพชีวิต ในปัจจุบันมีแนวโน้มไปในทิศทางความก้าวหน้าและพัฒนาเข้าใกล้กับเป้าหมายและความคาดหวังที่กำหนดไว้มากยิ่งขึ้น

References

Adul Sriudom. (2014). Driving the Sufficiency Economy Village Model. Retrieved from : http://kmcddccs.blogspot.com/2014/07/blog-post_60.html

Campbell, L. D., et al. (1983). Study of the variability of the endogenous energy output by adult roosters and a determination of the available energy of nine different feedstuffs. J. Sci. Food Agric., 34(1), 221-226

Chandarasorn, V. (2011). To induce major economic applications in the public sector. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

Chandarasorn, V. (2013). An integrated theory of public policy implementation 6 Edition. Bangkok: Prikwan.

Chorphetradda Pantho. (2014). Knowledge Management Sufficiency Economy Village. Retrieved from : https://khuadnamman.wordpress.com/การจัดการความรู้

Chumporn Suansaeng, Umaporn Kensila, Naiyana Tangjadee and Kittiphong Kongsomboon. (2012). Factors affecting quality of life of nursing personnel. HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Nakhon Nayok Province. Bangkok: Faculty of Medicine, Srinakharinwirot University.

Department of Community Development. (1984). Community development. Bangkok: Department of Community Development.

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Lungporn. (2016). The King reiterated "Sufficiency" (combine the sufficiency economy speech of 1974- 2001). Retrieved from: https://www.kasetkaoklai.com/home/2016/10/ทรงย้ำ-พอเพียง/

Power , M. J., Bullinger, M., & the WHOQOL Group. (2002). The universality of quality of life: An empirical approach using the WHOQOL. In. E. Gullone & R. A. Cummins (Eds.). The university of subjective well-being indicators (pp. 129-149). Kluwer Academic Publishers: Netherland.

Sakulrat Kamutmat. (2008). Management the concept of sufficiency economy of education executive, Educational service area office, Ubon Ratchathani District 3. Polytechnic journal North East, 5(1), 1.

Sawai Chareonsri. (2008). Guidelines for driving sufficiency economy philosophy at the village level of Ban Nam Dip, Nong Pling Subdistrict, Mueang Kamphaengphet District, Kamphaengphet Province. Master's Degree Development Strategy, Kamphaengphet Rajabhat University.

Skawduan Phophan. (2008). Factors Relating to Attitude Towards Non-Toxic Farming Practices of Farmers in Farming. In Bang Nam Priao District, Chachoengsao Province. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Somchai Srivirat. (2014). Local community development: concepts, principles of development and community development operations. Retrieved from: https://www.gotoknow.org/posts/549133

Thanaporn Phaopong. (2014). Factors Affecting the Success of Sufficiency Economy Village Development. Retrieved from : chonburi.cdd.go.th/web/datachon/KM57/KM%20ธนพร.doc

Tongchai Santiwong. (2000). Organization and management. Bangkok: Thaiwattanapanich. (in Thai)

Tuanchai Arunroj and Kriengchai Pung-prawat. (2014). Vocational development of manpower in the Lao People's Democratic Republic to be in line with the ASEAN Economic Community. Public Policy and Management Kasem Bundit University. Journal of Nakhon Phanom University, 4(2), 16-23.

UNESCO. (1993). Indicator of environment quality of life. Research and Papers in Social Science, 3(7), 11 -12.

United Nation, Bureau of Social Affairs. (1955). Social Progress Through Community Development, 76.

Wassana Srinualai. (2008). Implementation of the Sufficiency Economy Village Development: A Case Study of Ban Nak Village, Village No. 5, Chalong Subdistrict, Mueang District, Phuket Province. (Master of Arts Development Strategy, Phuket Rajabhat University).

Watcharapong Chaisuya. (2012). The success factor of village development is the sufficiency economy. Retrieved from: http://km.cddchiangmai.net/?p=590.

Wichian Witthayudom. (2007). Leadership 4th edition. Bangkok: Thira Film and Sitex Co., Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30