ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของพนักงานขาย สำหรับองค์การธุรกิจผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน, พนักงานขาย, องค์การธุรกิจผลิตยาแผนปัจจุบันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของพนักงานขายสำหรับองค์การธุรกิจผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขายที่ทำงานในองค์การธุรกิจผลิตยาแผนปัจจุบัน จำนวน 313 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ความรู้ด้านการขาย แรงจูงใจในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน และความสำเร็จในการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง 0.82-0.88 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเส้นทางความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานและความสามารถในการทำงานมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และ 2) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อความสามารถในการทำงาน นอกจากนี้ ความรู้ด้านการขายมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อแรงจูงใจในการทำงาน และแรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อความสามารถในการทำงาน และผลการวิเคราะห์ยังพบอีกว่า ความรู้ด้านการขายและแรงจูงในการทำงานมีอิทธิพลทางบวกโดยอ้อมต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่สำคัญในการเสริมสร้างให้พนักงานขายเกิดความสำเร็จในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2560). สถิติจำนวนโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th
พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. หน้า 220-229.
พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตโต). (2528). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธนาคารออมสิน. (2562). อุตสาหกรรมยาไทย2562. สืบค้นจาก http://www.gsb.or.th
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th
Alcover, C. M., & Topa, G. (2018). Work characteristics, motivational orientations, psychological work ability and job mobility intentions of older workers. PLoS ONE, 13(4), Article e0195973.
Boydell, T. (1985). Management self-development: A guide for managers, organizations and institution. Geneva: International Labour Office.
Costa, P. T., Jr., & McCrae, R. R. (1992). Revised NEO Personality Inventory (NEO PI-RTM) and NEO Five-Factor Inventory (NEO-FFI): Professional manual. Odessa, FL: Psychological Assessment Resources.
Feißel, A., Peter, R., Swart, E., & March, S. (2018). Developing an extended model of the relation between work motivation and health as affected by the work ability as part of a corporate age management approach. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(4), 779.
Fernet, C. (2013). The role of work motivation in psychological health. Canadian Psychology, 54(1), 72-74.
Futrell, C. (1994). ABC’s of selling (4th ed.). Homewood, IL: Irwin.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). Essex, UK: Pearson Education.
Havaldar, K. K., & Cavale, V. M. (2007). Sales and distribution management: Text and cases. New Delhi: Tata McGraw-Hill.
Herzberg, F. (1968). One more time: How do you motivate employees. Harvard Business Review, 46(1), 53-62.
Ilmarinen, J., Tuomi, K., & Seitsamo, J. (2005). New dimensions of work ability. International Congress Series, 1280, 3-7.
Jolson, M. A., & Wotruba, T. (1992). Selling and sales management in action: Prospecting: A new look at this old challenge. Journal of Personal Selling & Sales Management, 12(4), 59-66.
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling. New York: Guilford.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.
Melamed, T. (1995). Career success: The moderating effect of gender. Journal of Vocational Behavior, 47(1), 35-60.
McClelland, D. C. (2006). The achievement motive. New York: Appleton-Century-Crofts.
Miao, C. F., Evans, K. R., & Zou, S. (2007). The role of salesperson motivation in sales control systems – Intrinsic and extrinsic revisited. Journal of Business Research, 60(5), 417-425.
Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2000). Self-determination theory and the facilitation of intrinsic motivation, social development, and well-being. American Psychologist, 55(1), 68-78.
Steer, R. M. (1991). Introduction to organizational behavior (4th ed.). New York: HarperCollins Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ