การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ ณ ตะกั่วทุ่ง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ศรัณยา นาคแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • นันท์ธิดา ศิริกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ศรายุธ ทองหมัน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

กลุ่มจังหวัดอันดามัน, รูปแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน เป็นวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีสำรวจด้วยแบบสอบถาม จังหวัดละ 120 ชุด แบ่งเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง สำรวจจากนักท่องเที่ยวชาวไทย จังหวัดละ 30 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จังหวัดละ 90 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 600 คน และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure Interview)ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants)จังหวัดละ 3 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 คน

ผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน พบว่า กลยุทธ์เชิงรุก เน้นการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวในกลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน การท่องเที่ยวโดยผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และศิลปวัฒนธรรม ใช้การขับเคลื่อนการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความแตกต่างของการท่องเที่ยวและศูนย์กลางระดับโลกรองรับการท่องเที่ยวระดับพรีเมี่ยม กลยุทธ์เชิงรับ เน้นพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและระบบการขนส่งผลผลิตภาคเกษตรอุตสาหกรรม และประมง กลยุทธ์เชิงป้องกัน ใช้กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายจากภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน การพัฒนาการท่องเที่ยวเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยว กลยุทธ์เชิงแก้ไข ใช้กลยุทธ์การปรับปรุงภายในโดยการสร้างแผนการท่องเที่ยวในรูปแบบปกติใหม่ (New Normal) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว และรองรับการบริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจำนวนมาก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=487.

ประพินรัตน์ จงกล และคณะ. (2557). กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5 (น.133-122). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559, โดย กระทรวงการท่องเที่ยว-และกีฬา, 2557. สืบค้นเมื่อ จาก http://www.angthong.go.th/2554/ attachments/1372_รายงานส่วนที่ 1-4.pdf

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

ศิริวรรณ ศิริเวช. (2560). การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย ด้วยวิธี บีซีจี เมทริกซ์ และไดม่อนโมเดล. ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการออนไลน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . สืบค้นจาก https://www.econ.cmu.ac.th/econ_paper/?panel=all_paper.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และสมชาย หิรัญกิตติ. (2541). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาด และ กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร:บิซิเนส เวิล์ด.

Cochran,William G. (1997). Sampling Techniques 3rd Edition. John Wiley & Sons, New York.

Pike, Steven D. (2008). Destination Marketing : anintegrated marketing communication approach. Butterworth-Heinmann, Burlington, MA

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.

Porter, M. E. (1997). Competitive Strategy. Measuring Business Excellence. 1(2), 12-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30