การพยากรณ์และการหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์สำหรับการผลิต กรณีศึกษาบริษัทแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ชุลีกร ชูโชติถาวร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, การสั่งซื้อแบบประหยัด, การหาจุดสั่งซื้อซ้ำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพยากรณ์ปริมาณความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ซองกาแฟทั้ง 2 ประเภทของบริษัทกรณีศึกษา คือ กาแฟสำเร็จรูป 3in1 (ม้วนสีเขียว) และ 4in1 (ม้วนสีแดง) และหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด และจุดสั่งซื้อซ้ำ ของบรรจุภัณฑ์ สำหรับนำไปเป็นข้อมูลและแนวทางในการใช้ตัดสินใจในการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ซองกาแฟได้อย่างเหมาะสม โดยผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการพยากรณ์จำนวน 3 รูปแบบได้แก่ ได้แก่ 1) การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weight moving average) 2) การหาค่าเคลื่อนที่สองเท่า (Double Moving Average: DMA) และ 3) การปรับเรียบเอ็กโปแนนเชียลซ้ำสองครั้ง (Double Exponential Smoothing: DES) เพื่อทำการพยากรณ์ความต้องการบรรจุภัณฑ์ซองกาแฟ จากวัสดุม้วนสีเขียวและม้วนสีแดง พบว่า รูปแบบการพยากรณ์ความต้องการที่มีค่าความคลาดเคลื่อนด้วยวิธีเฉลี่ยความผิดพลาดกําลังสอง การพยากรณ์น้อยที่สุดคือรูปแบบพยากรณ์สูตรค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักและหาค่าความแปรปรวน (Variable Coefficient: VC) ทดสอบความแปรปรวนของข้อมูล โดยค่าการทดสอบ VC < 0.25 สามารถใช้วิธีการหาตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด (Basic Economic Order Quantity: EOQ) การหาจุดสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point: ROP) จากผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดของบรรจุภัณฑ์ซองกาแฟสีเขียวมีค่าเท่ากับ 53.47 ม้วนต่อรอบการสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อซ้ำเมื่อปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ที่ 24.33 ม้วน สำหรับปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดของบรรจุภัณฑ์ซองกาแฟสีแดงมีค่าเท่ากับ 228.11 ม้วนต่อรอบการสั่งซื้อและมีจุดสั่งซื้อซ้ำอยู่ที่ 174 ม้วน

References

ชุติระ ระบอบ. (2556). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวฉียว.

ณัฐิญา ศิลปอนันต์. (2557). ลักษณะบ่งเฉพาะในภาพลักษณ์โดยรวมประเภทบรรจุภัณฑ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ณัฐพล กำจรจิรพันธ์. (2556). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัท AA Steel (ประเทศไทย) จำกัด. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

ธนากร จินดาบรรเจิด. (2554). การวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัท. ปอกาล่า ออโต้ จํากัด. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

นิพนธ์ โตอินทร์. (2556). การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนสินค้าคงคลัง สำหรับสินค้าเครื่องดื่ม กรณีศึกษา: แผนกควบคุมเครื่องดื่มในโรงแรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

เนตรนภา เสียงประเสริฐ. (2558). การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับวัตถุดิบในประเทศไทย กรณีศึกษา ธุรกิจผลิตยางผสม. (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พิภพ ลลิตาภรณ์. (2552). ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

พลกฤษณ์ เพ็ญนิเวศน์สุข. (2553). การปรับปรุงการจัดการวัตถุดิบคงคลัง กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนเพื่อใช้ประกอบลิฟต์. (การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

รุ่งนภา ศรีประโค. (2557). การลดปริมาณการขาดแคลนสินค้าโดยใช้เทคนิคการพยากรณ์. กรณีศึกษา บริษัทไอเซโล (ประเทศไทย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร, (2558) ตลาดกาแฟในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=79

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30