การศึกษาความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับมาตรฐาน การให้บริการของธุรกิจสปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ศฤงคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สันติกร ภมรปฐมกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้ประกอบการ, มาตรฐานการให้บริการ, สปา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการ สปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการสปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามคุณลักษณะของผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสปา จำนวน 124 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 87.9) มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 30 ปี (ร้อยละ 52.4) มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 58.9) ส่วนใหญ่จดทะเบียนรูปแบบธุรกิจเป็นบริษัทจำกัด (ร้อยละ 48.8) และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท (ร้อยละ 34.7) โดยมีระดับความคิดเห็นต่อมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการสปา โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ มาตรฐานด้านบุคลากร มาตรฐานรวมด้านการบริหารและการจัดการ มาตรฐานรวมด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม มาตรฐานรวมด้านผลิตภัณฑ์ มาตรฐานรวมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ และมาตรฐานรวมด้านบริการ และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า มาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการสปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยรวม มีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะของผู้ประกอบการในด้านอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจและเร่งปรับปรุงมาตรฐานในการบริการและองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ สถานที่การจัดงาน รวมไปถึงรูปแบบและแนวทางในการบริหารและจัดการองค์กรให้มีความเหมาะสม

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานจำนวนสถานประกอบการบริการสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณะสุข. (2559). คู่มือเกณฑ์มาตรฐานสถานประกอบการ สปาเพื่อสุขภาพระดับสากล. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณะสุข. (2562). รายชื่อสถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ชาตรี บัวคลี่. (2556). ปฏิวัติโลกธุรกิจหลังสมัย ด้วย “Design”. Veridian E-Journal, 6(4), 99-111.

นวลพงษ์ เสือแก้ว. (2551). การจัดการมาตรฐานธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

บุคลากรสำนักงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2554). คู่มือมาตรฐานการให้บริการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ฝนทิพย์ ฆารไสว, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ และไว จามรมาน. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรสวร, 7(1), 39-50.

พรปวีณ์ ศิริรักษ์. (2551). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของร้านฉัตรฐยาคลินิกแพทย์แผนไทยและสปา อำเภอหัวหิน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ภักดี กลั่นภักดี. (2560). ปัจจัยด้านมาตรฐานของสถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(3), 97-110.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.

วันวิสาข์ โชคพรหมอนันต์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, 8(2), 967-988.

ศัชชญาส์ ดวงจันทร์ และนริศา คำแก่น. (2557). ความคาดหวังต่อการเลือกใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพและความงาม. วารสารการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11(3), 27-46.

สุณีย์ ล่องประเสริฐ. (2557). การพัฒนามาตรฐานธุรกิจสปาในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(1), 125-141.

สุธีลักษณ์ ลาดปาละ. (2551). ความเครียดจากการทางานของพนักงานนวดสปาในบริบทของกระบวนการแรงงานและการจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพัชรจิต จิตประไพ. (2552). การสร้างความแตกต่างในธุรกิจบริการ. วารสารเพื่อคุณภาพ, 16(143), 51-54.

อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2556). การพัฒนาคุณภาพบริการสำหรับสถานประกอบการ สปาในกลุ่มท่องเที่ยวแอ็กทีฟบีช ประเทศไทย. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

Austin, J., Gutiérrez, R., Ogliastri, E., &Reficco, E. (2006). Effective management of social enterprises: Lessons from businesses and civil society organizations in Iberoamerica. Cambridge, MA : Harvard University Press.

Bharadwaj, S. G., Varadarajan, P. R., &Fahy, J. (1993). Sustainable competitive advantage in service industries: A conceptual model and research propositions. Journal of Marketing, 57(4), 83-99.

Coyne, K. P. (1986). Sustainable competitive advantage: What is it, what it isn't. Business Horizons, 29(1), 54-61

Kirzner, I. (1973). Competition and entrepreneurship. Chicago: University of Chicago Press.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Weiers, R. M. (2005). Introduction to business statistic (5th ed.). Belmont, CA: Thomson – Brooks/cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31